วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนาการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยแผนภูมิกราฟิก (บทที่ 1)

บทที่  1

บทนำ

ภูมิหลัง

                   ในสังคมโลกปัจจุบัน  การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็น  ทั้งนี้เพื่อประโยชน์
ในการติดต่อสื่อสาร  การศึกษา  การแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม  และเพื่อการประกอบอาชีพ  ตลอดจนเพื่อให้สามารถนำประเทศไปสู่การแข่งขันด้านเศรษฐกิจ  เข้าใจความแตกต่างทางการเมือง

และวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นพลเมืองโลกยุคโลกาภิวัฒน์  การเรียนภาษาต่างประเทศจะช่วยให้ผู้เรียนมีวิสัยทัศน์  กว้างไกล  สามารถสื่อสารกับชาวต่างประเทศได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมั่นใจ  
มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาและวัฒนธรรมต่างประเทศ  นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจและภาคภูมิใจ
ในภาษาและวัฒนธรรมไทย  และสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ไทยไปสู่สังคมโลก  
(กรมวิชาการ.    2544  :  1)  ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการด้านต่าง    ของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ 
มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย  จึงมีความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาของชาติ  ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศเพื่อสร้างคนไทยให้เป็นคนดี  มีปัญญา  มีความสุข  มีศักยภาพพร้อม
ที่จะแข่งขันและร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลก  หลักสูตรการศึกษาของประเทศที่ใช้อยู่
โดยกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ติดตามผล  และดำเนินการศึกษาเพื่อการพัฒนาหลักสูตรตลอดมา  ผลการศึกษาพบว่า  หลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนานกว่า 
10  ปี  มีข้อจำกัดอยู่หลายประการไม่สามารถส่งเสริมให้คนไทยก้าวไปสู่สังคมความรู้ได้ทันการณ์  (กระทรวงศึกษาธิการ.    2544  :  1)
              ด้วยเหตุผลดังกล่าว  กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้พื้นฐานหนึ่งใน  8  กลุ่มสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปีพุทธศักราช  2544  โดยในการจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ
ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคาดหวังว่า  เมื่อผู้เรียนเรียนภาษาต่างประเทศ  อย่างต่อเนื่อง  ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษา  ผู้เรียนจะมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ  สามารถใช้ภาษาต่างประเทศ  สื่อสารในสถานการณ์ต่าง    แสวงหาความรู้  ประกอบอาชีพ  และศึกษาต่อ
ในระดับสูงขึ้น  รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราววัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก และสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์  โครงสร้าง
ของหลักสูตรภาษาต่างประเทศ  กำหนดตามระดับความสามารถทางภาษาและพัฒนาการของผู้เรียน
(Proficiency-Based)  ช่วงชั้นที่  3  (.1–3)  อยู่ในระดับ  (Developing  Level)  ซึ่งชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  เป็นกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้  โดยการจัดการเรียนการสอนในชั้นนี้  เน้นทักษะการฟัง  พูด  อ่านและเขียนเป็นสำคัญ  เป้าหมายและความคาดหวังที่สำคัญของการจัดการเรียนรู้ภาษา
ต่างประเทศในช่วงชั้นที่  3  (จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3)  ข้อที่  4  กล่าวว่า  อ่าน  เขียนข้อความ
ที่เป็นความเรียงและไม่เป็นความเรียง  ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ  ที่มีตัวเชื่อมข้อความ (Discourse  Markers)  (กรมวิชาการ.    2544  :  1–3)
                   การอ่านถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในการแสวงหาความรู้  การอ่านช่วยให้มนุษย์ฉลาดสามารถเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์ต่าง   ที่มีผลต่อ  การพัฒนาการของมนุษย์ทั้งทางสติปัญญา  อารมณ์  และสังคม  การอ่านจึงเป็นทักษะที่จำเป็นต้องฝึกฝนให้นักเรียน  นักศึกษาสามารถนำทักษะเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการเสาะแสวงหาความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นการอ่านในภาษาแม่หรือการอ่านภาษาต่างประเทศ  (เสงี่ยม  โตรัตน์.    2524  :  1)  ซึ่งในปัจจุบันโอกาสที่เราจะได้เห็นและอ่านภาษาอังกฤษมีมากขึ้น  เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา  การรับเอาเทคโนโลยีและวิชาการใหม่    รวมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภคจากต่างประเทศจึงเข้ามามีบทบาท
เป็นอย่างมากในชีวิตของคนไทย  ทักษะการอ่านจึงมีความสำคัญมากขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อ  
ทำสัญญา  ค้าขาย  หรือแม้แต่การอ่านฉลากสินค้าอุปโภคและบริโภคล้วนแต่ต้องอาศัยความเข้าใจ
ในการอ่านทั้งสิ้น  แต่เนื่องจากการอ่านเป็นทักษะที่ซับซ้อน  และต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นอย่างดี เพราะการอ่านไม่ใช่แต่เพียงอ่านตัวอักษรเท่านั้น  แต่ต้องมีความเข้าใจด้วย  ดังนั้นทักษะการอ่าน
จึงจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนจากการเรียนในห้องเรียนจากครูผู้สอนจนชำนาญก่อนแล้วจึงไปฝึกเพิ่มเติมเองนอกห้องเรียน  และอีกทักษะหนึ่งจำเป็นอย่างมากในการเรียนภาษาอังกฤษก็คือ  ทักษะการเขียน  ซึ่งจะสังเกตได้ว่าทักษะการเขียนถูกจัดไว้ในลำดับสุดท้ายของทักษะทั้ง  4  เหตุที่เป็นเช่นนี้อาจกล่าวได้ว่า  เพราะการเขียนจัดเป็นทักษะที่ยากที่สุด  ต้องผ่านกระบวนการทางความคิด
หลายขั้นตอน  ไม่ว่าจะเป็นการรวบรวมความคิด การลำดับเรียบเรียงความคิด  การเลือกสารถ้อยคำถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือข้อความที่สามารถสื่อความหมายได้ตรงกับความต้องการ  แม้ว่าทักษะการเขียนจะมีความยากในตัวเองดังที่กล่าวมาแล้ว  แต่ก็จำเป็นต้องมีการเรียน  การสอนทักษะเขียน  เนื่องจากการเขียนเป็นทักษะสำคัญ  และเอื้อประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างมากช่วยเสริมให้ผู้เรียนได้อ่าน  นอกจากนี้  การเขียนทำให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและสร้างสรรค์ 
เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ความนึกคิดและจินตนาการ  ซึ่งมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้และ
การพัฒนาทางภาษา  (สุมิตรา  อังวัฒนกุล.    2540  :  149-163)
                   จากประสบการณ์การสอนภาษาอังกฤษของผู้วิจัยที่โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา
อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด  ที่เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  
ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  ปัญหาที่พบมากที่สุดในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  ก็คือ  ปัญหาด้าน
การฟัง  การพูด  การอ่านและการเขียน  ทั้งนี้ในการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ของโรงเรียนเมืองสรวงวิทยานั้น  ซึ่ง  การจัดการเรียนการสอนจะเน้นวิธีการสอนแบบไวยากรณ์
และแปล  (Grammar  Translation  Method)  โดยวิธีสอนแบบนี้จะเน้นทักษะการอ่านและการเขียน และครูมีบทบาทสำคัญมาก  นักเรียนเป็นเพียงผู้รับและปฏิบัติตามครูเท่านั้น  ซึ่งไม่สอดคล้อง
กับหลักสูตรการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการเรียนรู้  ส่งผลให้ทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนโรงเรียนเมืองสรวงวิทยายังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร  ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านและการเขียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โดยใช้แผนภูมิกราฟิก  สาเหตุที่เลือกศึกษาในชั้นนี้  เนื่องจากผู้วิจัย
สอนในระดับนี้  จึงทำให้ทราบปัญหาในการจัดการเรียนการสอนภาษาที่สองเป็นอย่างดี  จึงสนใจ
ใช้แผนภูมิกราฟิกเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียน
                   จากสภาพการณ์ดังกล่าว  ผู้วิจัยตระหนักถึงความจำเป็น  และความสำคัญของการอ่าน
และการเขียน  จึงมีความต้องการที่จะปรับเปลี่ยนและพัฒนาวิธีสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร
และเพิ่มคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นทักษะการอ่านและการเขียนเป็นสำคัญ 
ซึ่งสอดคล้องกับ  กรมวิชาการในสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศสาระที่  1 
ภาษาเพื่อการสื่อสาร  มาตรฐาน   1.1   และมาตรฐาน  .  1.3  ที่บ่งชี้ว่า  ให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการฟังและการอ่าน  สามารถตีความเรื่องที่จะฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง   และนำความรู้ไปใช้อย่างมีวิจารณญาณ  เข้าใจกระบวนการพูด  การเขียน  และการสื่อสารและมีสุนทรียภาพ(กระทรวงศึกษาธิการ.    2544  :  20)  จากเหตุผลดังกล่าว  จึงทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนโดยใช้แผนภูมิกราฟิก  ซึ่งเป็นเทคนิคที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนภาษาที่สองโดยเฉพาะทักษะการอ่านและการเขียน  แผนภูมิกราฟิกช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างความคิดรวบยอดในเรื่องว่าอะไรเป็นความคิดที่สำคัญที่สุด  และที่สำคัญรองลงมาและความคิดนั้น   มีความสัมพันธ์กันแบบใด  เช่น  ในแง่ของการเปรียบเทียบแบ่งประเภท  หรือเป็นการบรรยาย  ยิ่งไปกว่านั้น  การใช้แผนภูมิกราฟิกในกิจกรรมก่อนอ่าน  ขณะที่อ่าน  หรือหลังการอ่านนั้นทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ดีขึ้น  การสอนนักเรียนโดยใช้แผนภูมิกราฟิกนี้  สามารถทำให้ผลการเรียนของนักเรียนในรัฐมิสซิสซิปปี้  ซึ่งมีผลการเรียนตกต่ำมากในปี  1986  คือ ด้านการอ่านมีนักเรียนสอบผ่านร้อยละ  77  และการเขียนร้อยละ  53  สามารถมีผลการเรียนดีขึ้นหลังจากได้รับการสอนอ่านและเขียนโดยใช้แผนภูมิกราฟิก  โดยมีนักเรียนสอบผ่านด้านการอ่าน
ร้อยละ  95  และด้านการเขียนร้อยละ  93  ในปีการศึกษา  1988  (วิสาข์  จัติวัตร์.    2543  :  145 - 146)  และทวีชัย  มงคลเคหา  (2542  :  บทคัดย่อ)  ได้ศึกษา  ผลการใช้กลวิธีการทำแผนผังสรุปโยงเรื่อง
ในการสอนทักษะอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ  ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่มีผล
ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะการอ่านและพฤติกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  ผลการวิจัยพบว่า  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการอ่านจับใจความอยู่ในระดับสูง  เท่ากับ  75.70  และในด้านการวิเคราะห์เนื้อหาบทเรียนตามลักษณะโครงสร้างของเนื้อเรื่องอยู่ในระดับสูง  เท่ากับ  72.96  และมีพฤติกรรมการพัฒนาทักษะการอ่าน
ด้านความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายและการให้ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นในการสร้างแผนผังสรุปโยงเรื่องอยู่ในระดับสูงมาก  เท่ากับร้อยละ  90.93  และ  79.50  ตามลำดับ  ดังนั้น  ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โดยใช้  แผนภูมิกราฟิก

ความมุ่งหมายของการวิจัย

                   การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ
โดยการใช้แผนภูมิกราฟิก  ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา  อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด

ความสำคัญของการวิจัย

                   1.  นักเรียนโรงเรียนเมืองสรวงวิทยา  ได้รับการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนดีขึ้น
                   2.  ครูสอนภาษาอังกฤษ  ระดับมัธยมศึกษาได้แนวทางในการใช้แผนภูมิกราฟิก
เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียน

ขอบเขตของการวิจัย

                   การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแบบร่วมมือ  (Collaborative  Classroom  Action  Research)  โดยมีขอบเขตการศึกษา  ดังนี้
                         1.  ประชากร  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด  เขต  2
                         2.  กลุ่มผู้ร่วมวิจัย
                                2.1  ผู้วิจัย
                                2.2  ผู้ร่วมวิจัย  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3/2  ปีการศึกษา  2549  ภาคเรียนที่  2  โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด  เขต  2  จำนวน  41  คน
                                2.3  ผู้ให้ข้อมูล  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3/2  ปีการศึกษา  2549  ภาคเรียนที่  2  โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด  เขต  2  จำนวน  41  คน
                                2.4  ระยะเวลาที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2549 
เริ่มดำเนินการระหว่างเดือน  มกราคม-กุมภาพันธ์  2550
                         3.  เนื้อหา
                                เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยได้ศึกษาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  ผังมโนทัศน์  สาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา
ต่างประเทศและผลการเรียนรู้คาดหวังระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  เลือกหน่วย  (Unit)  และเรื่อง  (Topic)  ที่เหมาะสมกับทักษะอ่านเขียน  หลังจากนั้น  ผู้วิจัยได้คัดเลือกเนื้อหาจากแหล่งการเรียนรู้
ต่าง    ที่เหมาะสมสอดคล้องกับหน่วยการเรียนซึ่งผู้วิจัยได้เลือกหน่วยการเรียนรู้ต่อไปนี้
                                      1.  หน่วย  (Unit)  Places                               ผู้วิจัยเลือกมา  1  เรื่อง  (Topic)  คือ
                                           -   Tourist  Attraction                              จำนวน  1  แผน  1  ชั่วโมง
                                     2.  หน่วย  (Unit)  Environment  ผู้วิจัยเลือกมา  1  เรื่อง  (Topic)  คือ
                                           -   Good  Health                                       จำนวน  1  แผน  1  ชั่วโมง
                                     3.  หน่วย  (Unit)  Food  and  Drink           ผู้วิจัยเลือกมา  1  เรื่อง  (Topic)  คือ
                                            -   Food  For  Health                               จำนวน  1  แผน  1  ชั่วโมง
                                     4.  หน่วย  (Unit)  Transportation               ผู้วิจัยเลือกมา  1  เรื่อง  (Topic)  คือ
                                            -  BTS  Sky - train                   จำนวน  1  แผน  1  ชั่วโมง
                                     5.  หน่วย  (Unit)  Health  and  Welfare     ผู้วิจัยเลือกมา  1  เรื่อง  (Topic)  คือ
                                            -  The  Faulty  Kettle                               จำนวน  1  แผน  2  ชั่วโมง
                                      6.  หน่วย  (Unit)  Animal                             ผู้วิจัยเลือกมา  1  เรื่อง  (Topic)  คือ
                                            -   Deer  and  Tiger                  จำนวน  1  แผน  2  ชั่วโมง
                                      7.  หน่วย  (Unit)  Culture                             ผู้วิจัยเลือกมา  1  เรื่อง  (Topic)  คือ
                                            -  General  Information                          จำนวน  1  แผน  2  ชั่วโมง
                         4.  ระยะเวลาที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
                                ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  เริ่มดำเนินการระหว่างเดือน  มกราคม ถึง  กุมภาพันธ์  2550  รวม  10  ชั่วโมง  เป็นเวลา  5  สัปดาห์

นิยามศัพท์เฉพาะ

                   ผู้วิจัยได้นิยามศัพท์เฉพาะไว้  ดังนี้
                         1.  การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ  หมายถึง  การใช้แผนภูมิกราฟิก  เพื่อให้สามารถแปลความ  ตีความ  สรุปความ  ขยายความ  ใช้ภาษาถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ 
สื่อความหมายให้คนอื่นเข้าใจได้  เรียงลำดับและจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านและเขียนได้  สำหรับทักษะการเขียนเป็นกิจกรรมที่พัฒนาจากทักษะอ่านโดยครูออกแบบกิจกรรมให้ผู้เรียนเขียนแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่อ่าน  เขียนแสดงความคล้ายคลึง  เขียนขยายความ  เขียนเรื่องจากโครงสร้างที่ครูกำหนดให้โดยใช้แผนภูมิกราฟิก
                         2.  การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วม  (Collaborative  Classroom  Action  Research)  หมายถึง  การใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อปรับปรุงและพัฒนาทักษะ
การอ่านและทักษะการเขียน  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา 
อำเภอเมืองสรวง  จังหวัดร้อยเอ็ด  โดยใช้  แผนภูมิกราฟิก  ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบของ  Kemmis  and  Mc  Taggart  ประกอบไปด้วย  2  ส่วน
ส่วนแรก  คือส่วนสำรวจ  ปัญหาก่อนที่จะลงมือปฏิบัติการ  ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยได้ทำการสำรวจปัญหา  หลังจากนั้นคิดหาวิธีแก้ปัญหา  และนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาต่อนักเรียนเพื่อขอความเห็น  และทำข้อตกลงร่วมกัน  ส่วนที่  2  คือ  ส่วนปฏิบัติการวิจัยและผู้ร่วมวิจัยดำเนินการปฏิบัติการ
โดยออกแบบการปฏิบัติการจำนวน  5  วงจร  ในการดำเนินการปฏิบัติในแต่ละวงจร  มี  4  ขั้นตอน ดังนี้
                                2.1  ขั้นวางแผน  (Plan)  ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างแผนการเรียนรู้  สื่ออุปกรณ์
การสอนและแบบประเมินตามสภาพจริงเพื่อประเมินทักษะการอ่านและการเขียน
                                2.2  ขั้นทดลองปฏิบัติ  (Action)  เป็นขั้นตอนที่ลงมือดำเนินการสอนตามแผน
การเรียนรู้ที่เตรียมไว้
                                2.3  ขั้นสังเกต  (Observation)  ขั้นนี้ผู้วิจัยใช้เทคนิคการเก็บรวมรวมข้อมูลทั้งหมด
ที่กำหนดไว้ได้แก่  การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง  (Non – formal  Observation)  โดยผู้วิจัยทำการสังเกต  พฤติกรรมการเรียนของนักเรียน  สภาพสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนซึ่งจะดำเนินการขณะทำการสอน  การเขียนอนุทิน  (Journal)  ของนักเรียนเป็นการเขียนบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับตัวนักเรียนระหว่างการเรียน  ตลอดทั้งการเขียนแสดงความรู้สึกต่อกิจกรรมการเรียนการสอน  โดยใช้แผนภูมิกราฟิก  โดยบันทึกเมื่อเสร็จสิ้นการเรียนในแต่ละครั้ง  และการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured  Interview)  เป็นการสุ่มสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้แผนภูมิกราฟิกซึ่งการเก็บรวมรวบข้อมูลในครั้งนี้ผู้วิจัยและนักเรียนจะเป็นทั้งผู้ให้ข้อมูล
ผู้บันทึกข้อมูลและผู้เก็บข้อมูล  ในขณะเดียวกัน
                                2.4  ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ  (Reflect)  ขั้นนี้เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากขั้นสังเกตแบบไม่มีโครงสร้างของผู้วิจัย  การเขียนอนุทิน  และการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง  มาร่วมกันวิเคราะห์  วิจารณ์  เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการศึกษาพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  และเพื่อปรับปรุงคุณภาพของแผนการเรียนรู้
ให้สอดคล้องกับสไตล์การเรียนรู้ของผู้เรียนในวงจรต่อไป
                         3.  แผนภูมิกราฟิก  หมายถึง  การนำเสนอความคิด  ความรู้  และข้อมูลที่เป็นข้อความ  หรือรูปภาพ  ให้สัมพันธ์กันเป็นรูปแบบมิติสัมพันธ์ที่เหมาะสม  เพื่อให้เกิดความชัดเจน  กะทัดรัด รัดกุม  และเข้าใจง่าย  ซึ่งผู้วิจัยได้นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้  9  รูปแบบคือ
                                3.1  แผนภูมิกราฟิกที่ใช้สำหรับการอ่านผู้ศึกษานำมาใช้  5  รูปแบบ  ได้แก่
                                      3.1.1  แผนภูมิเรียงลำดับขั้นตอน  (The  Ranking  Ladder)  หมายถึง  แผนภูมิที่ใช้ในการนำเสนอ  หรือสรุปข้อมูลเป็นลำดับขั้นตอน  จากขั้นต้นถึงขั้นสุดท้าย  มองเห็นระดับขั้นของการพัฒนาที่ต่อเนื่องกัน
                                      3.1.2  แผนภูมิความคิด  (The  Mind  Map)  หมายถึง  แผนภูมิ  ที่ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อคิดเห็นได้ชัดเจน  ช่วยในการรวบรวมสรุปข้อคิดเห็นที่สัมพันธ์กัน
                                      3.1.3  แผนภูมิแมงมุม  (The  Spider  Diagram)  หมายถึง  แผนภูมิที่ใช้แสดงถึงใจความสำคัญ  ขาของแมงมุมซึ่งเป็นเส้นนอนเป็นข้อความที่มาสนับสนุนใจความสำคัญ  ส่วนเส้นทแยงแสดงถึงรายละเอียดปลีกย่อย
                                      3.1.4  แผนภูมิความหมายเรื่องเล่าเรียงตามลำดับเหตุการณ์  (Narrative  sequential organization  map)  แผนภูมิความหมายชนิดแสดงถึงโครงสร้างของเรื่องเล่าซึ่งเกิดขึ้น  ตามลำดับเวลา
                                      3.1.5  แผนภูมิความหมายของเรื่องจำแนกประเภท  (Classification)  แผนภูมิชนิดนี้มักใช้กับเรื่องเชิงความเรียง หรือสิ่งที่ต้องการแบ่งประเภท  ชนิด  หรือคุณสมบัติของความคิด
รวบยอดนั้น   โดยมีลูกศรชี้ลงล่าง
                                3.2  แผนภูมิกราฟิกที่ใช้สำหรับการเขียนผู้วิจัยนำมาใช้  4  รูปแบบ  ได้แก่
                                      3.2.1  แผนภูมิความหมายเรื่องเชิงบรรยาย  (Descriptive  Map)  ใช้บรรยาย
ลักษณะต่าง    ของแก่นเรื่องว่ามีรายละเอียด  หรือองค์ประกอบอะไรบ้าง  อาจบรรยายถึงบุคคลสถานที่  หรือสิ่งของ  ซึ่งเกี่ยวข้องกับแก่นเรื่อง  หรือหัวข้อสำคัญ
                                      3.2.2  แผนภูมิแสดงเหตุและผล  (Cause  and  Effect)  เป็นแผนภูมิที่ใช้กับข้อมูลที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกัน
                                      3.2.3  แผนภูมิเล่าเรื่อง  (Story  Map)  เป็นแผนภูมิที่ใช้ในการบรรยายเรื่อง
เพื่อบอกรายละเอียด
                                      3.2.4  แผนภูมิเปรียบเทียบและสิ่งตรงกันข้าม  (Compare  Contrast  Map)  
เป็นแผนภูมิที่ใช้เปรียบเทียบข้อมูลเพื่อให้เห็นความแตกต่างและตรงกันข้าม

การพัฒนาการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยแผนภูมิกราฟิก (บทคัดย่อ)

ชื่อเรื่อง :   การพัฒนาการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
                 โดยแผนภูมิกราฟิก
ผู้วิจัย :      สุรีพร กลางบุรัมย์

บทคัดย่อ

แผนภูมิกราฟิกเป็นเทคนิคที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนภาษาที่สองโดยเฉพาะทักษะ   การอ่านและการเขียน เพื่อช่วยให้นักเรียนเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลในรูปมิติสัมพันธ์ได้ชัดเจนการศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อใช้กระบวนการศึกษาเชิงปฏิบัติในชั้นเรียนพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้แผนภูมิกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 41 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2550 มีทั้งหมด 5 วงจร วงจรละ 2 ชั่วโมง เทคนิคที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่การสังเกตการเขียนอนุทินของนักเรียน การสัมภาษณ์ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคนิคสามเส้า แล้วเขียนรายงานการวิจัยตามรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การวิจัยปรากฏผลดังนี้
วงจรที่ 1   ผู้วิจัยใช้แผนภูมิกราฟิก 2 ชนิด คือ แผนภูมิกราฟิกเรียงลำดับเหตุการณ์ พบว่า นักเรียน
อ่านจับใจความ สรุปความจากเรื่องที่อ่านได้ ง่ายขึ้น อ่านเร็วขึ้น และผลจากการใช้แผนภูมิกราฟิก
ภาพความคิดพบว่า นักเรียนอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถสรุปเนื้อหาจากบทอ่านได้ แต่ปัญหา
ที่พบคือ ยังมีนักเรียนบางคนไม่เข้าใจลักษณะและวิธีการใช้กราฟิกทั้งสองชนิดนี้
วงจรที่ 2   ผู้วิจัยได้แก้ปัญหาในขั้นของการใช้แผนภูมิกราฟิกที่ยังมีนักเรียนบางคนไม่เข้าใจลักษณะวิธีการใช้แผนภูมิกราฟิกนั้น โดยการยกตัวอย่างง่ายๆเพื่อให้นักเรียนเข้าใจจุดมุ่งหมาย ลักษณะและ       วิธีการใช้แผนภูมิกราฟิกแต่ละชนิด ทำให้นักเรียนเข้าใจลักษณะและวิธีการใช้แผนภูมิกราฟิกนั้น  มากขึ้น นอกจากนั้นในวงจรนี้ ผู้วิจัยได้ใช้ แผนภูมิกราฟิก 2 ชนิด คือ แผนภูมิกราฟิกเรียงลำดับ
เป็นขั้นตอนโดยแผนภูมิชนิดนี้ช่วยให้นักเรียนสามารถเรียงลำดับขั้นตอนของข้อความจากบทอ่าน
ได้ง่ายขึ้น และแผนภูมิกราฟิกเปรียบเทียบและสิ่งตรงกันข้าม ผลจากการใช้พบว่านักเรียนสามารถเปรียบเทียบสิ่งที่ตรงกันข้ามของข้อมูล จากบทอ่านได้ง่ายขึ้น และเร็วขึ้น แต่ปัญหาที่พบคือ
นักเรียนบางคนยังมีปัญหาเดิมคือกังวลเรื่องความหมายของคำศัพท์
วงจรที่ 3  ผู้วิจัยได้แก้ปัญหาเน้นการจัดกิจกรรมการใช้แผนภูมิกราฟิก โดยการชี้แจงให้นักเรียน
เข้าใจว่า การอ่านเพื่อความเข้าใจนั้น ไม่จำเป็นต้องรู้ความหมายของคำศัพท์ทุกคำก็ได้ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแปลคำศัพท์ในระดับหนึ่ง แผนภูมิกราฟิกที่ผู้วิจัยใช้ในวงจรนี้คือแผนภูมิกราฟิกแมงมุม ซึ่งพบว่า ช่วยให้นักเรียนเข้าใจละเอียดต่างๆ ของข้อมูลในบทอ่านได้ชัดเจน และ แผนภูมิกราฟิกแสดงเหตุและผล พบว่าช่วยให้นักเรียนแสดงข้อมูลที่เป็นเหตุและผลจากเรื่องที่อ่านได้ชัดเจน  อย่างไรก็ตามปัญหาที่พบคือ ยังมีนักเรียนบางคนไม่เข้าใจคำศัพท์และวลี
ในใบงานกราฟิก
วงจรที่ 4   ผู้วิจัยได้แก้ไขปัญหาที่นักเรียนไม่เข้าใจคำหรือวลีในใบงานโดยการเปลี่ยนคำศัพท์และวลีให้สื่อความหมายมากขึ้น ผลจากการแก้ปัญหาดังกล่าวพบว่า นักเรียนเข้าใจมากขึ้นจะเห็นได้จาก คะแนนอยู่ในระดับดี ในวงจรนี้ผู้วิจัยได้ใช้แผนภูมิกราฟิก 2 ชนิด คือ แผนภูมิกราฟิกเชิงบรรยาย พบว่าช่วยให้นักเรียนเขียนสรุปความคือ เขียนเนื้อหาที่ได้จากบทอ่านให้สั้นลง จับใจความเฉพาะ
ที่สำคัญๆได้ ส่วนผลของการใช้แผนภูมิเล่าเรื่องพบว่า นักเรียนสามารถบอกรายละอียดของข้อมูล
ในบทอ่านพร้อมกับสรุปประเด็นสำคัญของเนื้อหาที่ผู้วิจัยนำมาให้นักเรียนอ่านได้ จะเห็นได้จากคะแนนใบงานอยู่ในระดับดี อย่างไรก็ตามปัญหาที่ต้องแก้ไขในวงจรต่อไปคือ การแก้ไขบทอ่าน
ให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน
วงจรที่ 5   ผู้วิจัยได้แก้ปัญหาที่บทอ่านที่มีความยากไม่เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียนโดยปรึกษากับผู้ร่วมวิจัยเพื่อคำแนะนำ และพิจารณาเนื้อหาให้เหมาะสมกับบทอ่าน ผลจากการแก้ปัญหาดังกล่าวนักเรียนให้ความเห็นไว้ว่า บทอ่านง่ายขึ้นและสอดคล้องกับลักษณะของแผนภูมิ ในวงจรนี้ผู้วิจัยใช้แผนภูมิกราฟิก 2 ชนิด คือ แผนภูมิแมงมุม และพบว่าแผนภูมิชนิดนี้ ช่วยให้นักเรียนเขียนสรุปเนื้อหาจากเรื่องที่อ่านได้เร็วขึ้น ชัดเจนมากขึ้น และแผนภูมิกราฟิกจำแนกประเภท พบว่า
แผนภูมิชนิดนี้ช่วยให้นักเรียนสามารถจำแนกประเภทจากบทอ่านได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามปัญหาที่พบคือ ใบงานกราฟิกที่ให้นักเรียนทำนั้นมีน้อยเกินไป











TITLE:          Developing Reading and Writing English Skills by Using Graphic
                        Organizers of Mathayomsuksa III Student Muangsuangwittaya School Roi-et
AUTHOR:     Mrs. Sureeporn  Klangburam
ABSTRACT
Graphic Organizers are appropriate techniques for bilingual learning, especially in reading skills and writing skills to help students understand relations of information within visual dimensions. The purpose of this study was to use the process of action research to develop reading skills and writing skills by using graphic organizers in teaching Mathayomsuksa III students of Muansuangwittaya School, Amphoe Muangsuang, Roi-et Education Area 2 . The study was conducted in the second semester of the academic year 2006. Data were collected from January to February 2007 with a total of 5 cycles, each of which lasted 2 hours.
                   The techniques for collecting data were non- formal observation and video recording, observation of the research participant, student's journal and unstructured interview and tape recording. The researcher analyzed the data by using the triangular techniques and reporting findings of the research based on the action research form. The results were as follow:
The first cycle : The researcher used two types of graphic organizers : The Narrative Sequential Organization Map helped the students read rapidly, summarize their reading quickly: The Mind Map helped the students read with a purpose and summarize the content of the text. However, it was found that some students didn't understand the nature and the application of the two types of graphic organizers.
The second cycle: The researcher solved the problem at the stage of using graphic organizer; some students didn't understand the nature and the strategies of using graphic organizers by giving examples to students to help them understand the main purpose of each graphic organizer and how to use them. In the stage of using graphic organizers. The researcher used two types of them: The Ranking Ladder organizer could help the students arrange the sequence in the text and The Compare Contrast Map  could help the students compare and contrast the data quickly, it was found that some students were still worried about translating word meanings.
The third cycle: The researcher solved the problem for the problem regarding the use of graphic organizers that some students were worried about translating word meanings by explaining to students that in using graphic organizers they did not need to translate all the text. In using the graphic organizers, the researcher used two types of them: The Spider Map could help the students understand the details  and can write the main idea or the theme of data, Cause an Effect Diagram help students write that parts of cause and effect clearly.  However, it was found that some students didn't understand the words and phrases in the tasks.
The fourth cycle: The researcher solved the problem that some students didn't understand the words and phrases in the tasks by changing the words and phrases to make them more meaningful. It was found that the students could do the graphic task with higher score. Beside, results data analysis in this cycle revealed that researcher used two types of graphic organizers: The Descriptive Map organizer helped students understand distinguish the content and The Story Map could help students identify the details from the text and summarize it . However, it was found that the researcher should adjust the text to suit the student's competence.
The fifth cycle: The researcher solved the problem that the text was difficult and inappropriate by discussing with the research participant to gain advice on adjusting the text to suit the student. This could help students feel that the text was not too difficult and it was suitable for graphic organizer. Besides, in the stage of using graphic organizers the researcher used two types of graphic organizers: The Spider Diagram helped students write main idea of data quickly and clearly. It was also found that the Classification Map  helped students sort the data quickly. However, it was observed that there were not enough tasks for students to practice using the graphic organizers.