วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนาการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยแผนภูมิกราฟิก (บทคัดย่อ)

ชื่อเรื่อง :   การพัฒนาการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
                 โดยแผนภูมิกราฟิก
ผู้วิจัย :      สุรีพร กลางบุรัมย์

บทคัดย่อ

แผนภูมิกราฟิกเป็นเทคนิคที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนภาษาที่สองโดยเฉพาะทักษะ   การอ่านและการเขียน เพื่อช่วยให้นักเรียนเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลในรูปมิติสัมพันธ์ได้ชัดเจนการศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อใช้กระบวนการศึกษาเชิงปฏิบัติในชั้นเรียนพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้แผนภูมิกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 41 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2550 มีทั้งหมด 5 วงจร วงจรละ 2 ชั่วโมง เทคนิคที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่การสังเกตการเขียนอนุทินของนักเรียน การสัมภาษณ์ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคนิคสามเส้า แล้วเขียนรายงานการวิจัยตามรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การวิจัยปรากฏผลดังนี้
วงจรที่ 1   ผู้วิจัยใช้แผนภูมิกราฟิก 2 ชนิด คือ แผนภูมิกราฟิกเรียงลำดับเหตุการณ์ พบว่า นักเรียน
อ่านจับใจความ สรุปความจากเรื่องที่อ่านได้ ง่ายขึ้น อ่านเร็วขึ้น และผลจากการใช้แผนภูมิกราฟิก
ภาพความคิดพบว่า นักเรียนอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถสรุปเนื้อหาจากบทอ่านได้ แต่ปัญหา
ที่พบคือ ยังมีนักเรียนบางคนไม่เข้าใจลักษณะและวิธีการใช้กราฟิกทั้งสองชนิดนี้
วงจรที่ 2   ผู้วิจัยได้แก้ปัญหาในขั้นของการใช้แผนภูมิกราฟิกที่ยังมีนักเรียนบางคนไม่เข้าใจลักษณะวิธีการใช้แผนภูมิกราฟิกนั้น โดยการยกตัวอย่างง่ายๆเพื่อให้นักเรียนเข้าใจจุดมุ่งหมาย ลักษณะและ       วิธีการใช้แผนภูมิกราฟิกแต่ละชนิด ทำให้นักเรียนเข้าใจลักษณะและวิธีการใช้แผนภูมิกราฟิกนั้น  มากขึ้น นอกจากนั้นในวงจรนี้ ผู้วิจัยได้ใช้ แผนภูมิกราฟิก 2 ชนิด คือ แผนภูมิกราฟิกเรียงลำดับ
เป็นขั้นตอนโดยแผนภูมิชนิดนี้ช่วยให้นักเรียนสามารถเรียงลำดับขั้นตอนของข้อความจากบทอ่าน
ได้ง่ายขึ้น และแผนภูมิกราฟิกเปรียบเทียบและสิ่งตรงกันข้าม ผลจากการใช้พบว่านักเรียนสามารถเปรียบเทียบสิ่งที่ตรงกันข้ามของข้อมูล จากบทอ่านได้ง่ายขึ้น และเร็วขึ้น แต่ปัญหาที่พบคือ
นักเรียนบางคนยังมีปัญหาเดิมคือกังวลเรื่องความหมายของคำศัพท์
วงจรที่ 3  ผู้วิจัยได้แก้ปัญหาเน้นการจัดกิจกรรมการใช้แผนภูมิกราฟิก โดยการชี้แจงให้นักเรียน
เข้าใจว่า การอ่านเพื่อความเข้าใจนั้น ไม่จำเป็นต้องรู้ความหมายของคำศัพท์ทุกคำก็ได้ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแปลคำศัพท์ในระดับหนึ่ง แผนภูมิกราฟิกที่ผู้วิจัยใช้ในวงจรนี้คือแผนภูมิกราฟิกแมงมุม ซึ่งพบว่า ช่วยให้นักเรียนเข้าใจละเอียดต่างๆ ของข้อมูลในบทอ่านได้ชัดเจน และ แผนภูมิกราฟิกแสดงเหตุและผล พบว่าช่วยให้นักเรียนแสดงข้อมูลที่เป็นเหตุและผลจากเรื่องที่อ่านได้ชัดเจน  อย่างไรก็ตามปัญหาที่พบคือ ยังมีนักเรียนบางคนไม่เข้าใจคำศัพท์และวลี
ในใบงานกราฟิก
วงจรที่ 4   ผู้วิจัยได้แก้ไขปัญหาที่นักเรียนไม่เข้าใจคำหรือวลีในใบงานโดยการเปลี่ยนคำศัพท์และวลีให้สื่อความหมายมากขึ้น ผลจากการแก้ปัญหาดังกล่าวพบว่า นักเรียนเข้าใจมากขึ้นจะเห็นได้จาก คะแนนอยู่ในระดับดี ในวงจรนี้ผู้วิจัยได้ใช้แผนภูมิกราฟิก 2 ชนิด คือ แผนภูมิกราฟิกเชิงบรรยาย พบว่าช่วยให้นักเรียนเขียนสรุปความคือ เขียนเนื้อหาที่ได้จากบทอ่านให้สั้นลง จับใจความเฉพาะ
ที่สำคัญๆได้ ส่วนผลของการใช้แผนภูมิเล่าเรื่องพบว่า นักเรียนสามารถบอกรายละอียดของข้อมูล
ในบทอ่านพร้อมกับสรุปประเด็นสำคัญของเนื้อหาที่ผู้วิจัยนำมาให้นักเรียนอ่านได้ จะเห็นได้จากคะแนนใบงานอยู่ในระดับดี อย่างไรก็ตามปัญหาที่ต้องแก้ไขในวงจรต่อไปคือ การแก้ไขบทอ่าน
ให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน
วงจรที่ 5   ผู้วิจัยได้แก้ปัญหาที่บทอ่านที่มีความยากไม่เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียนโดยปรึกษากับผู้ร่วมวิจัยเพื่อคำแนะนำ และพิจารณาเนื้อหาให้เหมาะสมกับบทอ่าน ผลจากการแก้ปัญหาดังกล่าวนักเรียนให้ความเห็นไว้ว่า บทอ่านง่ายขึ้นและสอดคล้องกับลักษณะของแผนภูมิ ในวงจรนี้ผู้วิจัยใช้แผนภูมิกราฟิก 2 ชนิด คือ แผนภูมิแมงมุม และพบว่าแผนภูมิชนิดนี้ ช่วยให้นักเรียนเขียนสรุปเนื้อหาจากเรื่องที่อ่านได้เร็วขึ้น ชัดเจนมากขึ้น และแผนภูมิกราฟิกจำแนกประเภท พบว่า
แผนภูมิชนิดนี้ช่วยให้นักเรียนสามารถจำแนกประเภทจากบทอ่านได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามปัญหาที่พบคือ ใบงานกราฟิกที่ให้นักเรียนทำนั้นมีน้อยเกินไป











TITLE:          Developing Reading and Writing English Skills by Using Graphic
                        Organizers of Mathayomsuksa III Student Muangsuangwittaya School Roi-et
AUTHOR:     Mrs. Sureeporn  Klangburam
ABSTRACT
Graphic Organizers are appropriate techniques for bilingual learning, especially in reading skills and writing skills to help students understand relations of information within visual dimensions. The purpose of this study was to use the process of action research to develop reading skills and writing skills by using graphic organizers in teaching Mathayomsuksa III students of Muansuangwittaya School, Amphoe Muangsuang, Roi-et Education Area 2 . The study was conducted in the second semester of the academic year 2006. Data were collected from January to February 2007 with a total of 5 cycles, each of which lasted 2 hours.
                   The techniques for collecting data were non- formal observation and video recording, observation of the research participant, student's journal and unstructured interview and tape recording. The researcher analyzed the data by using the triangular techniques and reporting findings of the research based on the action research form. The results were as follow:
The first cycle : The researcher used two types of graphic organizers : The Narrative Sequential Organization Map helped the students read rapidly, summarize their reading quickly: The Mind Map helped the students read with a purpose and summarize the content of the text. However, it was found that some students didn't understand the nature and the application of the two types of graphic organizers.
The second cycle: The researcher solved the problem at the stage of using graphic organizer; some students didn't understand the nature and the strategies of using graphic organizers by giving examples to students to help them understand the main purpose of each graphic organizer and how to use them. In the stage of using graphic organizers. The researcher used two types of them: The Ranking Ladder organizer could help the students arrange the sequence in the text and The Compare Contrast Map  could help the students compare and contrast the data quickly, it was found that some students were still worried about translating word meanings.
The third cycle: The researcher solved the problem for the problem regarding the use of graphic organizers that some students were worried about translating word meanings by explaining to students that in using graphic organizers they did not need to translate all the text. In using the graphic organizers, the researcher used two types of them: The Spider Map could help the students understand the details  and can write the main idea or the theme of data, Cause an Effect Diagram help students write that parts of cause and effect clearly.  However, it was found that some students didn't understand the words and phrases in the tasks.
The fourth cycle: The researcher solved the problem that some students didn't understand the words and phrases in the tasks by changing the words and phrases to make them more meaningful. It was found that the students could do the graphic task with higher score. Beside, results data analysis in this cycle revealed that researcher used two types of graphic organizers: The Descriptive Map organizer helped students understand distinguish the content and The Story Map could help students identify the details from the text and summarize it . However, it was found that the researcher should adjust the text to suit the student's competence.
The fifth cycle: The researcher solved the problem that the text was difficult and inappropriate by discussing with the research participant to gain advice on adjusting the text to suit the student. This could help students feel that the text was not too difficult and it was suitable for graphic organizer. Besides, in the stage of using graphic organizers the researcher used two types of graphic organizers: The Spider Diagram helped students write main idea of data quickly and clearly. It was also found that the Classification Map  helped students sort the data quickly. However, it was observed that there were not enough tasks for students to practice using the graphic organizers.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น