บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเมืองสรวงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ผู้ศึกษาได้ค้นคว้า รวบรวมเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. สภาพทั่วไปของโรงเรียนเมืองสรวงวิทยา
2. ความหมายของความคิดเห็น
3. แนวคิด/ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ
3.1 ความหมายของการบริหารงานวิชาการ
3.2 ความสำคัญของการบริหารงานวิชาการ
3.3 องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการ
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4.1 งานวิจัยในประเทศ
4.2 งานวิจัยต่างประเทศ
1. สภาพทั่วไปของโรงเรียนเมืองสรวงวิทยา
1.1 สภาพปัจจุบันโรงเรียนเมืองสรวงวิทยา
โรงเรียนเมืองสรวงวิทยาตั้งอยู่เลขที่ 123 หมู่ที่ 4 ตำบลหนองผือ อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง มีอาคารเรียน 2 หลัง 3 ชั้น 32 ห้องเรียน ซึ่งแยกเป็นห้องคอมพิวเตอร์ 2 ห้อง ปฏิบัติการทางภาษา 1 ห้อง ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4 ห้อง มัธยมศึกษาตอนต้น 1 ห้อง อาคารประกอบ 4 หลัง หอประชุม 1 หลัง สนามกีฬา โรงอาหาร ห้องสุขา 4 หลัง แยกสุขานักเรียนชาย 2 หลัง นักเรียนหญิง 1 หลัง ครูประจำการ 63 คน ครูอัตราจ้าง 13 คน ลูกจ้างประจำ 5 คน เปิดสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 1,016 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 567 คน และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 449 คน จากสภาพดังกล่าวโรงเรียนได้พัฒนาตนเองทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านอาคารสถานที่
ในเรื่องการปรับปรุงภูมิทัศน์ของโรงเรียนให้มีความสะอาด ร่มรื่น สวยงามและปลอดภัย ปรับปรุงซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภคให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีจัดบรรยากาศภายในห้องเรียนให้เหมาะสม และเอื้อต่อการเรียนรู้จัดแหล่งการเรียนรู้เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ห้องสมุดและห้องปฏิบัติการทางภาษาให้พอเพียงกับความต้องการของนักเรียนในด้านการพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนได้ส่งครูเข้ารับการอบรมสัมมนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ และทักษะประสบการณ์ด้านต่างๆ ในการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูด้านนักเรียนได้ปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ได้แก่ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัยมีความสุภาพอ่อนน้อม รักษาความสะอาด มีความสามัคคี และมีน้ำใจต่อผู้อื่น การพัฒนาโรงเรียนในด้านต่างๆ ดังที่กล่าวมาก็เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอน ซึ่งคาดว่า ผลผลิตจะเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ สามารถ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โครงสร้างการบริหารงานออกเป็น 4
กลุ่มงาน ดังนี้
1. กลุ่มงานบริหารวิชาการ
2. กลุ่มงานบริหารงบประมาณ
3. กลุ่มงานบริหารบุคคล
4. กลุ่มงานบริหารทั่วไป
ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ.รอบแรก เมื่อวันที่ 20 - 24 กรกฎาคม 2548 โดยการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาได้พิจารณาตามมาตรฐาน 3 ด้าน คือด้านผู้บริหาร ด้านผู้สอน และด้านผู้เรียน เป็นการบ่งบอกถึงสถานภาพปัจจุบันดังนี้ (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน), 2548 : 3 )
1. ผลการประเมินด้านผู้บริหาร
เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารในระดับสูงด้านการประเมินผลอย่างเป็นระบบมีการสร้างเครื่องมือที่หลากหลาย มีปฏิทินการปฏิบัติงานโดยยึดระเบียบการประเมินผลกระทำอย่างต่อเนื่อง เมื่อทราบผลการประเมินก็นำมาปรับปรุงการเรียนการสอนได้อย่างรวดเร็ว
มีระบบสารสนเทศที่ถูกต้อง และเที่ยงตรงเป็นปัจจุบัน ประกอบการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
2. ผลการประเมินด้านครู
ครูมีความรู้ความสามารถและเข้าใจหลักสูตรและวิธีสอนกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนการสอนที่เกิดสมดุล 4 คือ ความรู้ จริยธรรม ร่างกายแข็งแรง และได้ทำงานปฏิบัติจริง การจัดบรรยากาศในห้องเรียน การเอาใจใส่เด็กรายบุคคล การให้เด็กได้เรียนรู้และค้นคว้าด้วยตนเอง ได้แสดงออก และได้รับการส่งเสริมให้จดบันทึกเป็นความรู้ ครูมีคุณวุฒิระดับสูงได้สอนตรงตามวิชาเอก มีชั่วโมงที่ได้รับการพัฒนาไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงทุกคน ได้สอนตรงตามความถนัดทุกคนมีชั่วโมงสอนในรอบสัปดาห์ เฉลี่ย 20 ชั่วโมง
3. ผลการประเมินด้านผู้เรียน
ระดับมัธยมศึกษาผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบ มีนิสัยรักการอ่าน มีความรู้ในการทำงานตามขั้นตอนตามที่ครูมอบหมาย ผลงานมีประสิทธิภาพ มีน้ำหนักส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีสมรรถภาพทางกายภาพ ผ่านเกณฑ์การประเมินของกรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีความชื่นชมและได้รับการส่งเสริมด้านศิลปะ กีฬาและดนตรี ชนะเลิศวงโปงลางของภาคอีสานและชนะเลิศดนตรีพื้นเมืองระดับประเทศ
1.2. ทิศทาง1.3. การพัฒนาสถานศึกษา ตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี
วิสัยทัศน์
“โรงเรียนเมืองสรวงวิทยาเป็นโรงเรียนชั้นนำ มีคุณภาพมาตรฐาน นักเรียนมีความรู้คู่คุณธรรมและสร้างโอกาสให้เด็กไทย”
เป้าประสงค์
โรงเรียนเมืองสรวงวิทยาได้กำหนดเป้าประสงค์ร่วมกัน ดังนี้
1. นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดวิเคราะห์ มีทักษะในการดำรงชีวิต มั่นใจในตนเอง มีความเป็นไทย และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
2. โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการที่ดี มีคุณภาพมาตรฐานสากล มีเอกลักษณ์โดดเด่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
3. สร้างโอกาส ดูแลช่วยเหลือนักเรียนและส่งเสริมนักเรียนตามศักยภาพ
4. โรงเรียนพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น เน้นการ บูรณาการการเรียนรู้และการดำรงชีวิต
5. เพิ่มระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาสูงขึ้น เป็นที่ยอมรับของชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง 6. ครู ผู้บริหาร กรรมการสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ ความสามารถ และจิตวิญญาณในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
7. โรงเรียนเพิ่มศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
8. โรงเรียนมีระบบเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ พี่เลี้ยง ศึกษานิเทศก์ ชุมชนและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
9. โรงเรียนมีทรัพยากรที่เหมาะสมใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล
พันธกิจ
เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์และวิสัยทัศน์ จึงได้กำหนดเป็นพันธกิจเพื่อดำเนินงานดังนี้
1. พัฒนาบุคลากรในโรงเรียนทุกคนให้เป็นมืออาชีพ
2. พัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีคุณภาพ คิดวิเคราะห์และมีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี
3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการแบบการมีส่วนร่วมให้ได้มาตรฐานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ขององค์กร
4. สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา พัฒนานักเรียนให้เต็มศักยภาพ สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
5. พัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี รักษ์วัฒนธรรมไทย และมีความมั่นใจในตนเอง
6. สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ให้ชุมชนและผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
7. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้
8. พัฒนานักเรียนให้มีความรู้ทักษะด้านศิลปะ ดนตรี กีฬาและวิชาชีพ
กลยุทธ์
โรงเรียนได้กำหนดวิธีการพัฒนาโรงเรียน ดังนี้
1. เร่งสร้างแรงขับเคลื่อนให้โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการที่ดี คล่องตัว มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพ มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม
2. พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้เชิงบูรณาการให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และดำรงชีวิตได้ตามศักยภาพ
3. พัฒนาศักยภาพบุคลากรทุกระดับให้เป็นมืออาชีพ มีทักษะในการปฏิบัติงาน สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4. โรงเรียนมีสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้และการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
5. ระดมสรรพกำลังสร้างภาคีเครือข่ายอุปถัมภ์ที่เข้มแข็ง อันเกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กร ประชาสังคม ในรูปแบบอุปถัมภ์และร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมพัฒนา (แผนปฏิบัติการโรงเรียนเมืองสรวงวิทยาประจำปี 2553 : 12)
2. แนวคิดเกี่ยวกับความคิดเห็น
2.1 ความหมายของความคิดเห็น
สมยศ นาวีการ (2540 : 149 ) ได้ให้คำจำกัดความของความคิดเห็นว่า หมายถึงการมีส่วนร่วมในการแสดงออกทางความคิด ทัศนคติ เจตคติ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา และสร้างเสริมความเชื่อมั่นและความไว้วางใจร่วมกัน
ประวิตร ชูศรี (2542 : 14) สรุปความหมายความคิดเห็นไว้ว่า เป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อและการตัดสินใจ ในการพิจารณาข้อเท็จจริง อย่างใดอย่างหนึ่งโดยอาศัยพื้นฐานความรู้และประสบการณ์แวดล้อม
อุทัย บุญประเสริฐ (2542 : 185) กล่าวว่า ความคิดเห็นหมายถึงการแสดงความคิด ความรู้สึกร่วมกันโดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการบริหารตัดสินใจ ร่วมจัดการดำเนินการ และร่วมกันรับผิดชอบในการดำเนินการจัดการกับบางสิ่งบางอย่างเพื่อประโยชน์ร่วมกันของของชุมชน สังคม หรือประเทศชาติ
ธงชัย สันติวงษ์ (2545 : 128) กล่าวไว้ว่า ความคิดเห็นหมายถึง การแสดงความคิดและพูดคุยร่วมกันของกลุ่มบุคคล โดยการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้นๆ
ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยการจัดประชุมหรือแต่งตั้งคณะกรรมการ
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง (2545 : 9 - 11) กล่าวถึงความคิดเห็นว่า หมายถึง การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิด ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการทำงาน จะทำให้เกิดความรู้สึกเกี่ยวข้องผูกพันกับงานหรือองค์การ ความรู้สึกผูกพันเกี่ยวข้อง หากมีการที่จะตัดสินใจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน แล้วจะเป็นผลให้เกิดข้อผูกมัดหรือผูกพันสิ่งที่ ตกลงใจร่วมกัน
สร้อยตระกูล อรรถมานะ (2545 : 127) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับความคิดเห็นว่า หมายถึง การแสดงความคิดร่วมกันของกลุ่มบุคคลเพื่อแก้ปัญหา หรือดำเนินการเพื่อสร้างหรือพัฒนาโดยตอบสนองต่อความต้องการทางสังคม ความรักใคร่และความเป็นเจ้าของ
หลุยส์ จำปาเทศ (2548 : 3) ได้กล่าวว่า ความคิดเห็นหมายถึง การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ และร่วมรับผิดชอบในผลการพัฒนาที่เกิดขึ้น
วันชัย วัฒนศัพท์ (2548: 1) กล่าวว่า ความคิดเห็นหมายถึง การแสดงความคิดเห็นของบุคคลหรือสาธารณชนในเรื่องที่เกี่ยวกับความห่วงกังวล ความต้องการและค่านิยมด้วยมีจุดมุ่งหมายเพื่อไปสู่การตัดสินใจที่ดีกว่า
กู๊ด (Good.1973: 197) ให้ความหมายของความคิดเห็นว่า หมายถึง การตัดสินใจ คำวิจารณ์ ความเห็น หรือรูปแบบของการประเมินผลในจิตใจเกี่ยวกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งไม่อาจบอกได้ว่าเป็นการถูกต้องหรือไม่
เวบสเตอร์ (Webster.1990: 637) ให้ความหมายของความคิดเห็นไว้ว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจิตใจ ความเชื่อ หรือการตัดสินใจที่จะเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ โดยความคิดเห็นนั้นอาจไม่ถูกต้องก็ได้ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมมอง หรือทัศนคติเฉพาะคน หรือด้วยการรวมกลุ่มเพื่อออกความคิดเห็นโต้แย้งความคิดเห็นเดิมที่มีอยู่แล้ว หรือการแสดงออกของผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะตัดสินเรื่องหนึ่งเรื่องใดแล้วแต่กรณี
จากแนวคิดของนักการศึกษาที่กล่าวมา สรุปได้ว่า ความคิดเห็นหมายถึง การแสดงความคิดในแง่มุมต่างๆที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยอาศัยประสบการณ์ของคน เพื่อร่วมกันตัดสินใจในสิ่งที่เห็นว่าดีที่สุดและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม (หมายถึง ความรู้สึก เจตคติ หรือประสบการณ์ของบุคคล โดยการแสดงความคิดความรู้สึกร่วมกัน และเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการบริหารตัดสินใจ ร่วมกันจัดดำเนินการและร่วมรับผิดชอบในการดำเนินการกับบางสิ่งบางอย่างอย่างเพื่อประโยชน์ร่วมกันของชุมชน สังคมหรือประเทศชาติ)
2.2 ความสำคัญของความคิดเห็น
ประเวศ วะสี (2541: 12) ให้ความสำคัญของความคิดเห็นว่า ความคิดเห็นของแต่ละบุคคลนั้น มีความสำคัญต่อการตัดสินใจ และการแสดงออกทางพฤติกรรมของบุคคลนั้นโดยตรง
ซึ่งจะเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์หรือทำลายก็ได้
วิโรจน์ สารรัตนะ (2544 : 19) ให้ความสำคัญของความคิดเห็นว่า ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ละคนจะแสดงความเชื่อและความรู้สึกใดออกมาโดยการพูด หรือ
การเขียน การสำรวจความคิดเห็นจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงาน การกำหนดนโยบาย แผนงานโครงการต่างๆ หรือการเปลี่ยนแปลงระบบงานการดำเนินงานรวมทั้งการฝึกหัดทำงานด้วย เพราะจะทำให้การดำเนินงานต่างๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและตามความพอใจของผู้ร่วมงาน
จากการกล่าวของนักการศึกษา สรุปได้ว่า ความคิดเห็นมีความสำคัญคือ การแสดงออกทางพฤติกรรมของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่น แสดงออกทางการพูด การเขียน ซึ่งการแสดงออกนั้นเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์หรือไม่ก็ตาม ความคิดเห็นของคนส่วนมากก่อให้เกิดพลังอย่างมหาศาล และสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
3. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารวิชาการ
3.1 ความหมายของการบริหาร
การบริหารงานในองค์กรใดๆก็ตามต่างก็มีเป้าหมายให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ให้องค์กรเจริญก้าวหน้า ซึ่งต้องมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรภายใต้กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน สำหรับสถานศึกษานั้นการบริหารงานวิชาการถือว่าเป็นหัวใจของการบริหาร เพราะจุดมุ่งหมายหลักของการศึกษาคือการพัฒนาด้านวิชาการ มีผู้ให้ความหมายของการบริหารไว้ ดังนี้
สมนึก นนทิจันทร์ (2539: 18) ให้ความหมายว่า การบริหารหมายถึง กระบวนการในการดำเนินงานของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน แต่กิจกรรมนั้นอาจจะเป็นไปในลักษณะที่แตกต่างกัน คือ มีฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ตัดสินใจสั่งการ อีกฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่บุคคลในองค์กรร่วมกันวางไว้ต่างกัน
สมยศ นาวีการ (2540 : 18) ให้ความหมายว่า การบริหารคือกระบวนการของการวางแผนการจัดองค์การ การสั่งการ และการควบคุมกำลัง ความพยายามของสมาชิกขององค์การและใช้ทรัพยากรอื่นๆเพื่อความสำเร็จในเป้าหมายขององค์การที่วางไว้
กิติมา ปรีดีดิลก (2545 : 151-167) ให้ความหมายว่า การบริหารหมายถึงความพยายามที่จะใช้ทรัพยากรให้มีประโยชน์มากที่สุด และบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ
ธงชัย สันติวงษ์ (2545: 12) ให้ความหมายว่า การบริหารเป็นของหัวหน้างานทุกคนที่จะต้องปฏิบัติในฐานะที่เป็นผู้นำของกลุ่ม เป็นผู้จัดระเบียบทรัพยากรต่างๆและประสานกิจกรรมหรืองานที่ทำให้สามารถเข้ากันได้เป็นผลงานของส่วนรวม
จากความหมายของนักบริหารการศึกษาดังกล่าว พอสรุปได้ว่า การบริหารเป็นกระบวนการใช้ทรัพยากรทุกประเภทที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อองค์การ ทำให้องค์การดำเนินการไปได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3.2 ความหมายของ3.3 การบริหารง3.4 านวิชาการ
งานวิชาการถือเป็นหัวใจของสถานศึกษา เพราะจะทำให้เด็กมีความรู้มีทักษะ
มีพัฒนาการมีคุณสมบัติและคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ สถานศึกษาที่วิชาการดีจะได้รับความนิยมจากผู้ปกครอง ได้รับการยอมรับจากสังคม มีผู้ให้ความหมายของการบริหารงานวิชาการไว้ ดังนี้
เกสิณี ชิวปรีชา (2540 : 8) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิชาการไววา
หมายถึง กิจกรรมทางการศึกษาที่จัดขึ้นทั้งภายในและภายนอกหองเรียนเพื่อใหผูเรียนได้รับ
ประสบการณและเกิดการเรียนรูทั้งด้านความรู ทัศนคติ คุณสมบัติ และทักษะความสามารถ
ตามที่กําหนดไว้ในจุดมุ่งหมายของการศึกษาแห่งชาติ และสอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
สมศรี มธุรสสุวรรณ (2541 : 14) ให้ทัศนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการว่า
เปนการจัดกิจกรรมทุกกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดการพัฒนาขึ้น ในตัวเด็กตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา ซึ่งในการบริหารผูบริหารโรงเรียนจะตองใช้เวลาสวนใหญในการบริหารงานด้านวิชาการ
ชัยวัฒน์ เจียมสุขสุจิตต์ (2542 : 29) ให้ความหมายไว้ว่า คือการบริหารทุกชนิดในโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำด้านวิชาการและถือว่า งานวิชาการเป็นหัวใจของโรงเรียน
เรณู ครุฑไทย (2542 : 9) กลาวถึง การบริหารงานวิชาการวา หมายถึง การจัดกิจกรรมทุกชนิดในโรงเรียนที่เกี่ยวของกับการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อให้ผูเรียนเกิดการเรียนรูและได้รับประสบการณอยางมีประสทธิภาพ ตามจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่กําหนดไว
กมล ภูประเสริฐ (2544 : 6) กลาววา การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา หมายถึง การบริหารที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งเปนเปาหมายสูงสุดของภารกิจสถานศึกษา
ชุมศักดิ์ อินทรรักษ (2545 : 9) กลาววา การบริหารงานวิชาการหมายถึง กระบวนการ การจัดกิจกรรมในงานวิชาการ ซึ่งเปนภารกิจหลัก ใหเกิดการปรับปรุง พัฒนาเพื่อเกิดประโยชนสูงสุด แกผูเรียนหรือผู้รับบริการ
กระทรวงศึกษาธิการ (2546: 28 - 32) กล่าวถึง การบริหารงานวิชาการว่า หมายถึง กิจกรรมทุกชนิดในสถานศึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงการเรียนการสอนให้ได้ผลดีและ
มีประสิทธิภาพที่สุด อันได้แก่ความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาหลักที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอยู่
ในสังคมและรวมถึงการอบรมศีลธรรมจรรยาและความประพฤติของนักเรียนเพื่อให้เป็นคนดี
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2546: 2) ให้ความหมายว่า การบริหารงานวิชาการหมายถึง กระบวนการบริหารกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวกับการปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การวางแผน การปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอน ตลอดจนการประเมินผล
การเรียนการสอนเพื่อให้เป็นไปตามจุดหมายของหลักสูตร และจุดมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
รุจิย์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม (2546 : 56) กล่าวว่า การบริหารงานวิชาการ หมายถึงการบริหารกิจกรรมทุกชนิดในสถานศึกษาซึ่งเกี่ยวกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดผลตามเป้าหมายของหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ
ทิพวัลย์ ตาปนานนท์ (2547 : 14) ให้ความหมายไว้ว่า การบริหารงานวิชาการ หมายถึง กิจกรรมทุกชนิดในสถานศึกษาหรือในโรงเรียน เกี่ยวกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะหน้าที่ของสถานศึกษาหรือโรงเรียนทุกแห่งคือ การให้ความรู้ด้านวิชาการแก่ผู้เรียน โดยมีผู้บริหารหรือครูใหญ่เป็นผู้นำทางวิชาการ มีการทำงานร่วมกันของครู ให้คำแนะนำและประสานงานกันให้ทุกคนทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
จากความหมายที่กลาวมา จึงสรุปไดวา การบริหารงานวิชาการ หมายถึง
การบริหารงาน หรือการดําเนินงานทุกชนิดในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิด
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด รวมถึงการประเมินผลการเรียนการสอนเพื่อให้เป็นไปตามจุดหมายของหลักสูตร และจุดมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ และสามารถนําความรู้ที่ได้ไปใชในการดํารงชีวิตอยูในสังคมไดอย่างมีความสุข มีคุณคา และมีศักด์ศรี
3.5 หลักการบริหารง3.6 านวิชาการ
ชุมศักดิ์ อินทรรักษ ( 2545 : 9) ไดกลาวถึงหลักการบริหารงานวิชาการที่สําคัญดังนี้
1. หลักการพัฒนาคุณภาพ (Quality Management) เปนการบริหารเพื่อนําไปสู
ความเปนเลิศทางวิชาการ องคประกอบของคุณภาพที่เปนตัวชี้วัดคือผลผลิตและกระบวนการซึ่ง
เปนปจจัยสําคัญ ที่ทําใหบุคลากร และผูรับบริการไดรับความพึงพอใจ พัฒนาศักยภาพ เปนที่ยอมรับของสังคม ในระดับสากลมากขึ้น โดยอาศัยกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาไดแก การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินผล
2. หลักการมีสวนร่วม (Participation) การปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการบริหาร
ใหพัฒนาอยางตอเนื่องสม่ำเสมอ โดยหลักการมีสวนร่วม การเสนอแนะและการพัฒนา ในงานวิชาการ ตองอาศัยความรวมมือจากหลายฝาย จึงอาจดําเนินงานในรูปของคณะกรรมวิชาการ
โดยมีเปาหมาย นําไปสูการพัฒนาคุณภาพไดมากขึ้น การมีส่วนร่วมตองเริ่มจาก การรวมคิดร่วมทำ และรวมประเมินผล
3. หลักการ 3 องคประกอบ (3 - E s) ไดแก ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัด
3.1 หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง การปฏิบัติตามแผนที่กําหนดไว
เปนไปตามขั้นตอนและกระบวนการ มีปญหาและอุปสรรคขณะดําเนินการก็สามารถปรับปรุง
แกไขได การมีประสิทธิภาพ เนนที่กระบวนการ (Process) การใชกลยุทธ และเทคนิควิธีตางๆ
ที่ทําใหบรรลุวัตถุประสงคมากที่สุด
3.2 หลักประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ผลผลิต(Outcome)ที่ได้
ตามวัตถุประสงคที่กําหนดไว ตรงตามจุดมุงหมายของหลักสูตรมีความรูความสามารถ มีทักษะเพิ่มขึ้น รวมทั้งการคํานึงถึงผลประโยชนที่ไดรับ อยางไรก็ตามมักใชสองคํานี้ควบคูกันคือ
มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
3.3 หลักประหยัด (Economy) หมายถึง การใชเวลานอย การลงทุนนอย
การใชกําลังหรือแรงงานนอย โดยไมตองเพิ่มทรัพยากรการบริหาร แตไดผลผลิตตามที่คาดหวัง ดังนั้น การลงทุนทางวิชาการจึงตองคํานึง หลักความประหยัดดวยเชนกัน
4. หลักความเปนวิชาการ (Academics) หมายถึง ลักษณะที่ครอบคลุมเนื้อหาสาระ ของวิชาการไดแก หลักการพัฒนาหลักสูตร หลักการเรียนรู้ หลักการสอน หลักการวัดผล ประเมินผล หลักการนิเทศการศึกษา และหลักการวิจัยเบื้องตน หลักการเหลานี้ เปนองคประกอบสําคัญที่กอใหเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสรางสรรค์
การจัดนวัตกรรมและสารสนเทศ (2553 : ออนไลท์) ได้กล่าวถึงหลักการเบื้องต้นของการบริหารวิชาการไว้ดังนี้
1. สถานศึกษาต้องจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้เป็นไปตามกรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนและสังคมอย่างแท้จริง โดยมีครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วม
2. มุ่งส่งเสริมสถานศึกษาให้จัดกระบวนการเรียนรู้ โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
3. มุ่งส่งเสริมให้ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งเป็นเครือข่ายและแหล่งการเรียนรู้
4. มุ่งจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยจัดให้มีดัชนีชี้วัดคุณภาพการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ และสามารถตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาได้ทุกช่วงชั้นทั้งระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
5. มุ่งส่งเสริมให้มีการร่วมมือเป็นเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการจัดและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
สรุปไดวา หลักการบริหารงานวิชาการเปน แนวคิดเพื่อใหการปฏิบัติบรรลุสู่ความสําเร็จในการบริหารงานวิชาการ ดังนั้นในการบริหารงานวิชาการ ผูบริหารตองใชทั้งหลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคํานึงถึงคุณภาพของเปาหมายคือ ผูเรียนเปนหลัก นอกจากนี้
ตองคํานึงถึงบุคลากรซึ่งเปนผูมีบทบาทสําคัญในกระบวนการบริหาร โดยการ ใหทุกคนมีสวนร่วม
ในการบริหาร ใหการสงเสริมสนับสนุน และดูแลเอาใจใส ดวยความยุติธรรมและเสมอภาค
3.4 ความสำคัญของการบริหารงานวิชาการ
นพพงษ์ บุญจิตราดุล (2538 : 100) กล่าว่า งานวิชาการเป็นงานที่มีความสำคัญมาก
เป็นอันดับแรก ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า การบริหารโรงเรียนที่ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องรับผิดชอบ แบ่งออกเป็น 7 ประเภท และให้ความสำคัญของแต่ละงานเป็นร้อยละตามลำดับ ดังนี้
งานบริหารวิชาการ (ร้อยละ 40)
งานบริหารบุคลากร (ร้อยละ 20)
งานบริหารกิจการนักเรียน (ร้อยละ20)
งานบริหารด้านความสัมพันธ์กับชุมชน (ร้อยละ 5)
งานบริหารการเงิน (ร้อยละ 5)
งานบริหารอาคารสถานที่ (ร้อยละ 5)
งานบริหารในหน้าที่ทั่วไป (ร้อยละ 5)
อำภา บุญช่วย (2542: 1) กล่าวว่า งานวิชาการเป็นหัวใจของถาบันการศึกษาทุกระดับ
ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือโรงเรียน การที่จะรู้ว่า สถาบันใดมีมาตรฐานก็จะพิจารณาผลงานทางวิชาการเป็นสำคัญ งานวิชาการจะสัมฤทธิ์ผลเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับบทบาทของผู้บริหารว่าจะเอาจริงเอาจังกับงานวิชาการมากน้อยเพียงใด ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารในการเตรียมเพื่อให้บุคลากรในสถานศึกษาเกิดความพร้อมอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจและปฏิบัติงานอย่างจริงจังเพื่อให้การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาได้บรรลุวัตถุประสงค์
ไกรเลิศ โพธิ์นอก (2545 : 15) ได้กล่าวว่า งานวิชาการเป็นงานหลัก เป็นหัวใจของการบริหารโรงเรียนเป็นงานสำคัญยิ่ง เพราะงานวิชาการช่วยพัฒนาสติปัญญาความนึกคิดของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีคุณค่าในสังคม การบริหารงานจะดีมีคุณค่าหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้นำและครู
วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์ (2545 : 65)ได้กล่าวว่า งานวิชาการเป็นงานที่สำคัญที่สุดของโรงเรียน เพราะจะเป็นเครื่องมือชี้ถึงความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าของโรงเรียน ด้านอื่นเป็นงานเสริมเท่านั้น
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง (2545 : 16) กล่าวถึงงานวิชาการว่า งานวิชาการเป็นงานที่สำคัญมีขอบเขตที่ครอบคลุมถึงกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผลทางการศึกษาผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งที่จะทำให้งานวิชาการดักล่าวดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงสมควรที่จะทราบแนวทางปฏิบัติ ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนควรพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพต่างๆของโรงเรียน
ปัญญา แก้วเกยูร และ สุภัทร พันธ์พัฒนกุล (2546 : 17) กล่าวว่า งานวิชาการถือเป็นหัวใจสำคัญในการจัดการศึกษาในระดับสถานศึกษา การบริหารงานวิชาการเป็นกระบวนการดำเนินงานที่เกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ในจุดมุ่งหมายของการพัฒนาผู้เรียน โดยทั่วไปงานวิชาการจะประกอบด้วย การศึกษาปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาและการนำหลักสูตรไปใช้
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2546 : 2) กล่าว่า การบริหารงานวิชาการเป็นงานที่สำคัญสำหรับผู้บริหารโรงเรียน เนื่องจากการบริหารงานวิชาการเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทุกชนิดในโรงเรียน โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายหลักของโรงเรียนและเป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จและความสามารถของผู้บริหารตลอดจนความสามารถของครูผู้สอน
สรุปไดวา การบริหารงานวิชาการเปนภารกิจหลักของผูบริหารสถานศึกษา มาตรฐานคุณภาพการศึกษาจะปรากฏเดนชัด หากผูบริหารสามารถบริหารไดอยางมีประสทธิภาพ ดังนั้น
จึงถือไดวาการบริหารงานวิชาการเปนหัวใจ เปนสวนที่สําคัญที่สุดในสถานศึกษา ผู้บริหารตอง
ใสใจและตระหนักในภารกิจนี้ รู้จักปรับปรุงตนเอง รู้และเขาใจงานวิชาการอยางถองแท รวมทั้งการ พัฒนางานวิชาการใหกาวหนา ทันตอการจัดการศึกษาในยุคปจจุบัน นอกจากนี้ยังจะไดรับความ
ไววางใจ การยอมรับและนับถือจากชุมชน สังคม ก่อนจะนํามาซึ่งความภาคภูมิใจ ตอความสําเร็จในที่สุด
3.5 ขอบข่ายของ3.6 การบริหารง3.7 านวิชาการ
งานวิชาการถือเป็นหัวใจของสถานศึกษา เพราะจะทำให้เด็กมีความรู้มีทักษะ
มีพัฒนาการ มีคุณสมบัติและคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ สถานศึกษาที่วิชาการดีจะได้รับความนิยมจากผู้ปกครอง ได้รับการยอมรับจากสังคม จากภารกิจของโรงเรียนทุกด้าน งานวิชาการ เป็นงานที่มีความสำคัญที่สุดในการที่จะทำให้นักเรียนบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
กระทรวงศึกษาธิการ (2546 : 33) ได้กำหนดขอบข่ายของงานวิชาการของสถานศึกษาไว้ 8 ด้าน ดังนี้ 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การวัดผลการประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน 4) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5) การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 6) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 7) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ 8) การส่งเสริมสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษา
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2546 : 127) ระบุขอบข่ายของงานด้านวิชาการว่า
1. การวางแผนเกี่ยวกับงานวิชาการ เป็นการวางแผนการนำหลักสูตรไปใช้ การวางแผนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนต่างๆล่วงหน้า
2. การจัดดำเนินการเกี่ยวกับการเรียนการสอน ได้แก่ การจัดตารางสอน การจัดชั้นเรียน การจัดครูเข้าสอน การจัดเอกสารแบบการเรียน การปรับปรุงการเรียนการสอน การฝึกงาน
3. การจัดบริหารเกี่ยวกับการเรียนการสอน เป็นการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและการส่งเสริมการจัดหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพ ได้แก่การจัดสื่อการเรียนการสอนและการจัดห้องสมุด
4. การวัดและประเมินผลเป็นกระบวนการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอน
กระทรวงศึกษาธิการ (2550: 29) ได้กำหนดขอบข่ายและภารกิจของงานวิชาการ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ดังนี้
1. การพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น
2. การวางแผนงานด้านวิชาการ
3. การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา
4. การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา
5. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
6. การวัดผลประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน
7. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา
8. การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้
9. การนิเทศการศึกษา
10. การแนะแนว
11. การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา
12. การส่งเสริมชุมชนให้มีความขยันขันแข็งทางวิชาการ
13. การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น
14. การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคลในครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา
15. การจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา
16. การคัดเลือกหนังสือแบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา
17. การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
จากการที่นักการศึกษากล่าวมา สรุปได้ว่า แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ มี 8 ด้าน คือ ดังนี้ 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การวัดผลการประเมินผล 4) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5) การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 6) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 7) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ 8) การส่งเสริมสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษา
1. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
1.1 ความหมายของ1.2 หลักสูตร
หลักสูตร (curriculum) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า "currere" ซึ่งหมายถึงช่องทางสำหรับวิ่ง (a racingchariot, from which is derived a racetrack, or a course to be run) ซึ่งนำมาใช้กับความหมายในทางการศึกษาก็หมายถึง แนวทางสำหรับการเรียนรู้ (a course of study) ที่เป็นดังนี้เพราะการเรียนที่ประสบความสำเร็จจะต้องดำเนินไปตามแนวทางและลำดับขั้นตอน อันเหมาะสมที่ได้กำหนดไว้ ความหมายของหลักสูตรไว้อีกมากมาย ดังนี้
วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์ (2542 : 44) กล่าวว่า หลักสูตร หมายถึง โครงการที่ประมวลความรู้และประสบการณ์ และถ้ากล่าวถึงในแง่เอกสารจะใช้คำว่า หนังสือหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตรกรมวิชาการ ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ว่า คือข้อกำหนดว่าด้วยจุดหมาย แนวทาง วิธีการ และเนื้อหาสาระในการวัดผลการเรียนการสอนในโรงเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ เจตคติและพฤติกรรมตามที่กำหนดในจุดมุ่งหมายของการศึกษา
สวัสดิ์ กาญจนสุวรรณ (2542 : 370) กลาววา หลักสูตรหมายถึง เอกสารที่แสดงแนวทางหรือการจัดมวลประสบการณใหผู้เรียนไดบรรลุความตองการที่กําหนดไว
ชุมศักดิ์ อินทรรักษ (2545 : 26) กลาววา หลักสูตรหมายถึง เนื้อหา สาระสําคัญ และกิจกรรมตางๆ ที่สนองวัตถุประสงคเพื่อใหผู้เรียนไดเกิดการเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไป ตามที่พึงประสงค
วัฒนาพร ระงับทุกข (2545 : 2) ไดใหความหมายของหลักสูตรวา เปนแนวทางหรือขอกําหนดของการจัดการศึกษาที่จะพัฒนาใหผู้เรียนมีความรู ความสามารถโดยส่งเสริมให
แตละบุคคลพัฒนาไปสูศักยภาพสูงสุดของตน รวมถึงลําดับชั้นของมวลประสบการณ ที่กอให้เกิด
การเรียนรูสะสม ซึ่งชวยใหผู้เรียนนําความรูไปสูการปฏิบัติได ประสบความสําเร็จในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีชีวิตอยูในสถานศึกษา ชุมชน สังคมมีความสุข
ราชบัณฑิตยสถาน (2546 : 1272) กลาววา หลักสูตร หมายถึง ประมวลวิชาและ
กิจกรรมตางๆ ที่กําหนดไวในจุดมุ่งหมายของการศึกษา เพื่อวัตถุประสงค อยางใดอยางหนึ่ง
โบแชมพ์ (Beauchamp , 1968 : 98 อ้างใน รุจิร์ ภู่สาระ, 2546 : 8 ) ให้ความหมายว่า หลักสูตรคือ แผน ที่เขียนไว้อย่างชัดเจนเพื่อบอกขอบเขตและการจัดโปรแกรมการศึกษาในโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย
1. ข้อความที่กล่าวถึงแนวทางในการวางแผนการเรียนการสอน
2. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3. เนื้อหาสาระที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย
4. ระบบแนวทางการประเมินคุณค่าของหลักสูตร
กู๊ด (Good, 1973 : ) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ในพจนานุกรมทางการศึกษา (dictionary of education) ว่าหลักสูตรคือ กลุ่มรายวิชาที่จัดไว้อย่างมีระบบ หรือลำดับวิชาที่บังคับสำหับการจบการศึกษา หรือเพื่อรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น หลักสูตรสังคมศึกษา หลักสูตรพลศึกษา
สรุปไดวา หลักสูตรหมายถึง แนวกำหนดประสบการณ์ทั้งมวลที่มุ่งหมายให้นักเรียนได้รับการศึกษาทั้งในแง่วิจารณ์และพัฒนาทุกด้านครอบคลุมถึงการกำหนด กิจกรรมการเรียน
การสอน และวิธีฝึกอบรมเด็กในชั้นเรียน หลักสูตรมีฐานะเป็นมาตรฐานและเป็นพื้นฐานอย่างหนึ่งในการจัดประสบการณ์ให้แก่นักเรียน ครูจึงสามารถเติมเสริมแต่งให้เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียนและท้องถิ่นได้
1.3 ความสำคัญ1.4 ของ1.5 หลักสูตร
การจัดการศึกษาของชาติไม่ว่าระดับใดมุ่งเน้นพัฒนาคนในชาติให้มีคุณลักษณะและศักยภาพที่เหมาะสมกับความต้องการของสังคมทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมีหลักสูตรเป็นเสมือนพิมพ์เขียวในการจัดการศึกษาที่จะพัฒนาผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการ อันจะส่งผล โดยตรงต่อการพัฒนา ประเทศ ดังนั้นหลักสูตรจึงมีความสำคัญยิ่งต่อการจัดการศึกษาทุกระดับ
มีนักการศึกษากล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตรไว้ดังนี้
ธำรง บัวศรี (2542 : 196 )ได้กล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่ถ่ายทอดเจตนารมณ์หรือเป้าประสงค์ของ การศึกษาของชาติไปแปลงเป็นการกระทำขั้นพื้นฐานในโรงเรียนหรือสถานศึกษาถ้าจะกล่าวว่า หลักสูตรคือหัวใจทางการศึกษาก็คงไม่ผิดเพราะถ้าปราศจากหลักสูตรเสียแล้วการศึกษาก็ย่อมดำเนินไม่ได้ และหลักสูตรยังมีความสำคัญต่อการเรียนการสอน กล่าวคือ ถ้าหากไม่มีหลักสูตร ก็สอนไม่ได้เพราะไม่รู้จะสอนอะไร หรือถ้าจะสอนโดยคิดเอาเองก็จะเกิดความสับสน โดยที่อาจสอนซ้ำไปซ้ำมา ไม่เรียงลำดับตามที่ควรจะเป็น
ผลการเรียนรู้อาจไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ ผู้เรียนเองก็จะมีความลำบากใจเพราะไม่ทราบว่าสิ่งที่เรียนไปนั้นสามารถนำไปเปรียบเทียบได้กับระดับใด
สุนีย ภูพันธ (2546 : 17) ไดสรุป ความสําคัญของหลักสูตรดังนี้
1. หลักสูตรเปน เสมือนเบาหลอมพลเมืองใหมีคุณภาพ
2. หลักสูตรเปน มาตรฐานของการจัดการศึกษา
3. หลักสูตรเปนโครงการและแนวทางในการใหการศึกษา
4. ในระดับสถานศึกษาหลักสูตรจะใหแนวปฏิบัติแกครู
5. หลักสูตรเปนแนวทางในการสงเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็กตามจุดมุงหมายของการศึกษา
6. หลักสูตรเปน เครื่องกําหนดแนวทางในการจัดประสบการณวา ผูเรียนและ สังคมควรจะไดรับสิ่งใดบาง ที่จะเปนประโยชนแกเด็กโดยตรง
7. หลักสูตรเปน เครื่องกําหนดวา เนื้อหาวิชาอะไรบางที่จะชวยใหเด็กมีชวิตอยูในสังคมอยางราบรื่น เปนพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และบําเพ็ญตนใหเปนประโยชนต่อสังคม
8. หลักสูตร เปนเครื่องกําหนดวา วิธีการดําเนินชีวิตของเด็กใหเปนไปดวยความราบรื่นและผาสุกเปนอยางไร
9. หลักสูตรยอมทํานายลักษณะของสังคมในอนาคตวาจะเปนเชนไร
10. หลักสูตรยอมกําหนดแนวทางความรูความสามารถ ความประพฤติ ทักษะและ เจตคติของผูเรียนในการอยูร่วมในสังคมและบําเพ็ญตนใหเปนประโยชนตอชุมชนและสังคม
สรุปไดวา หลักสูตรมีความสำคัญมากเพราะ หลักสูตรเป็นเอกสารของทางราชการ เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้ปฏิบัติตามและเข้าใจตรงกัน เป็นแผนการปฏิบัติงานของครูในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เป็นมาตรฐานในการจัดการศึกษาระดับต่างๆและเป็นแนวทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของผู้เรียนตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา รวมทั้งตัวกำหนดลักษณะและรูปแบบของสังคมในอนาคต และเป็นเครื่องชี้วัดความเจริญก้าวหน้าของประเทศ
1.3 องคประกอบของหลักสูตร
นักการศึกษาและนักวิชาการหลายทานไดแสดงถึงองคประกอบของหลักสูตร
ไวแตกตางกัน เชน
ธำรง บัวศรี (2542 : 54) กล่าวถึง องค์ประกอบที่สำคัญของหลักสูตรว่ามี ดังต่อไปนี้
1. เป้าประสงค์และนโยบายการศึกษา (education goals and policies) หมายถึงสิ่งที่รัฐต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษา
2. จุดหมายของหลักสูตร (curriculum aims) หมายถึงผลส่วนรวมที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน หลังจากเรียนจบหลักสูตรไปแล้ว
3. รูปแบบและโครงสร้างหลักสูตร (types and structures) หมายถึง ลักษณะและแผนผังที่แสดงการแจกแจงวิชาหรือกลุ่มวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์
4. จุดประสงค์ของวิชา (subject objectives) หมายถึงผลที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนหลังจากที่ได้เรียนวิชานั้นไปแล้ว
5. เนื้อหา (content) หมายถึงสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ทักษะและความสามารถที่ต้องการให้มีรวมทั้งประสบการณ์ที่ต้องการให้ได้รับ
6. จุดประสงค์ของการเรียนรู้ (instructional objectives) หมายถึงสิ่งที่ต้องการให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ ได้มีทักษะและความสามารถ หลังจากที่ได้เรียนรู้เนื้อหากำหนดไว้
7. ยุทธศาสตร์การเรียนการสอน (instructional strategies) หมายถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมและมีหลักเกณฑ์ เพื่อให้บรรลุผลตามจุด ประสงค์ของการเรียนรู้
8. การประเมินผล (evaluation) หมายถึงการประเมินผลการเรียนรู้เพื่อใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนและหลักสูตร
9. วัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน (curriculum materials and instructional media) หมายถึงเอกสารสิ่งพิมพ์ แผ่นฟิล์ม แถบวีดิทัศน์ ฯลฯ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์โสตทัศนศึกษา เทคโนโลยีการศึกษาและอื่น ๆ ที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพและประสิทธิภาพการเรียนการสอน
รุจิร ภูสาระ(2546 : 8) องคประกอบของหลักสูตร หมายถึง ส่วนที่อยูภายในหลักสูตร และประกอบกันเขาเปนหลักสูตร เปนสวนสําคัญที่จะทําใหความหมายของหลักสูตร
สมบูรณ เปนแนวทางในการจัดการเรียนการสอน การประเมินผล และการพัฒนาหลักสูตรดวย
โบแชมพ (George Beauchamp, 1968 : 108 อางถึงใน รุจิร์ ภูสาระ, 2546 : 9) กลาวถึง องคประกอบของหลักสูตรในเชิงระบบ คือ สวนที่ปอนเขา (Input) กระบวนการ (Process) และผลลัพธที่ได (Output) ซึ่งสามารถแสดงได ดังภาพ
สวนที่ปอนเขา กระบวนการ ผลลัพธ
- เนื้อหาวิชา - ลักษณะการใช - ความรู
- ผูเรียน - สื่อ/อุปกรณ - ทักษะ
- ชุมชน - ระยะเวลา - เจตคติ
- พื้นฐานการศึกษา - การวัดผล - ความมั่นใจ
แผนภูมิที่ 2 โครงสรางหลักสูตรเชิงระบบ
ที่มา : โบแชมพ (George Beauchamp, 1968 : 108 อางถึงใน รุจิร์ ภูสาระ, 2546 : 9)
สุนีย์ ภู่พันธ์ (2546 : 32) กล่าวว่า หลักสูตรมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร (curriculum aims) หมายถึง ความตั้งใจหรือความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้ที่จะผ่านหลักสูตร เป็นตัวกำหนดทิศทางและขอบเขตในการให้ การศึกษาแก่เด็ก ช่วยในการเลือกเนื้อหาและกิจกรรมตลอดจนใช้เป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการประเมินผล
2. เนื้อหา (content) เป็นสิ่งที่คาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ โดยดำเนินการตั้งแต่การเลือกเนื้อหาและประสบการณ์การเรียงลำดับเนื้อหาสาระ และการกำหนดเวลาเรียนที่เหมาะสม
3. การนำหลักสูตรไปใช้ (curriculum implementation) เป็นการนำหลักสูตรไปสู่ การปฏิบัติประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดทำวัสดุหลักสูตร การจัดเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและสิ่งแวดล้อม การดำเนินการสอน
4. การประเมินผลหลักสูตร (evaluation) คือการหาคำตอบว่าหลักสูตรสัมฤทธิผลตามที่กำหนดไว้ในจุดมุ่งหมายหรือไม่มากน้อยเพียงใดและอะไรเป็นสาเหตุ การประเมินผลหลักสูตรเป็นงานใหญ่และมีขอบเขตกว้างขวาง ผู้ประเมินจำเป็นต้องวางโครงการประเมินผลไว้ล่วงหน้า
จากแนวคิดที่เกี่ยวกับองค์ประกอบของหลักสูตรตามที่นักพัฒนาหลักสูตรและนักการศึกษาได้กำหนดไว้ตามที่กล่าวมา สามารถสรุปได้ว่า องค์ประกอบหลักที่สำคัญของหลักสูตร
มี 4 ประการคือ
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
2. เนื้อหา
3. การนำหลักสูตรไปใช้
4. การประเมินผล
1.4 การนําหลักสูตรไปใช
แมว่าหลักสูตรจะมีความสําคัญมากมายก็ตาม หากผู้มีส่วนเกี่ยวของทั้งหลาย
ปลอยใหเปนเพียงขอความที่อยูในคูมือหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ยอมไม่ประสบความสําเร็จได
อุทัย บุญประเสริฐ (2542 : 9) ไดสรุปวา การนําหลักสูตรไปใชนั้น จะรวมถึง กิจกรรมสําคัญ 3 ประเภทดวยกัน คือ
1. การแปลงหลักสูตรไปสูการสอน
2. การจัดปจจัยและสภาพตาง ๆ ภายในสถานศึกษา เพื่อประโยชนในการใช หลักสูตรให บรรลุผลตามหลักการและจุดหมายของหลักสูตร
3. การจัดการเรียนการสอนใหสอดคลองกับหลักการ จุดหมายของหลักสูตร
จุดประสงคของการเรียนรู สอดคลองกับโครงสราง และแนวดําเนินการของหลักสูตร
อําภา บุญชวย (2542 : 28-29) กล่าวถึงการนําหลักสูตรไปใชพอสรุปได ดังนี้
1. การแปลงหลักสูตรไปสูการสอน หมายถึง การตีความหมายและกําหนดรายละเอียดของหลักสูตรเชน ความมุงหมายของหลักสูตรวาเปนอยางไร จะสอนใคร ระดับใด และ ตองการใหเกิดอะไรขึ้นกับผู้เรียน มีโครงสราง หลักการอยางไร โดยมีคณะกรรมการจัดทําประมวลการสอน โครงการสอน ฯลฯ ออกมาในรูปของเอกสารหลักสูตร
2. การจัดปจจัย และสภาพแวดลอมตางในสถานศึกษา โดยผู้บริหารสํารวจ
ปจจัยและสภาพแวดลอมตางๆ เชน จํานวนผูเรียน ขนาดหองเรียน หองสมุด วัสดุอปกรณ
สื่อการสอน ตลอดจนการจัดครูเขาสอน วาเหมาะสมกับการนําหลักสูตรไปใชหรือไม
3. การสอนของครู เปนขั้นตอนสําคัญที่สุดของการนําหลักสูตรไปใช แมจะมี ปจจัยตางๆพรอม แต่ถ้า ครูไมนําหลักสูตรไปใช ไมเอาใจใสตอการสอน หลักสูตรก็ไม
บรรลุผลสัมฤทธิ์ได
สรุปไดวา การนําหลักสูตรไปใชในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของสถานศึกษา
จะประสบความสําเร็จไดนั้น ทุกฝายไมวาจะเปนผู้บริหาร บุคลากร หรือผู้มีส่วนเกี่ยวของ ตองรู้และเขาใจในเรื่องหลักสูตรอยางลึกซึ้ง เพื่อสามารถนําหลักสูตรไปใชใหเกิด ประโยชนตอผูเรียนใหมากที่สุด
1.5 ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
ชูศรี สุวรรณโชติ (2544 : 87) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตรคือ การพัฒนาแผนการเรียนเพื่อจัดกระบวนการศึกษา และรวบรวมการประเมินการสร้างประสบการณ์การเรียนให้กับผู้เรียน การชี้ให้เห็นจุดประสงค์ของการศึกษาเล่าเรียนและอื่นๆอีกหลายประการอันเป็นผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสร้างความเจริญงอกงามในทุกด้านให้กับผู้เรียน
วิโรจน์ สารรัตนะ (2544 : 21 - 23) ได้ให้ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรไว้ว่า
หมายถึง การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดีขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของบุคคลและสภาพสังคม การปรับปรุงหลักสูตรหมายถึง การแก้ไขหลักสูตรบางส่วนให้ดีและ
เหมาะสมยิ่งขึ้นต้องกระทำอยู่ตลอดเวลาในการใช้หลักสูตร ส่วนการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรหมายถึง การสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรควรอยู่ระหว่าง 5 – 10 ปี
กรมวิชาการ (2545 : 29) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตรหมายถึง การดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรซึ่งได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายการจัดทำโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา การจัดทำสาระของหลักสูตร การออกแบบการเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การกำหนดรูปแบบวิธีการและเกณฑ์การตัดสิน การวัดผลประเมินผลและเอกสารหลักฐานการศึกษารวมถึงการเรียบเรียงเป็นหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชุมศักดิ์ อินทร์รัตน์ (2547 : 59) ได้ให้ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรไว้ว่า คือความพยายามจัดประสบการณ์ต่างๆให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตรงตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองตามที่พึงประสงค์ของสังคม การพัฒนาหลักสูตรเกิดขึ้นตามความจำเป็น ดังนี้ 1) ความเปลี่ยนแปลงของสังคมเศรษฐกิจและเทคโนโลยี 2) ปรัชญาการศึกษาที่ปรับเปลี่ยนไป 3) ความต้องการของผู้เรียน 4) ความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น และ 5) การพัฒนากระบวนการและรูปแบบทางการศึกษา
ถวัลย์ มาศจรัส และ เชาวฤทธิ์ จงเกษภรณ์ (2547 : 8 - 19) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตรหมายถึง การดำเนินการต่างๆเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจตรงกันซึ่งเริมตั้งแต่
การเขียนหลักสูตรการกำหนดเนื้อหาสาระการเรียนรู้หรือข้อมูลอื่นๆที่สามารถสื่อความหมายให้
เข้าใจตรงกันได้
หรรษา นิลวิเชียร (2547 : 7) การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง กระบวนการ ปรับปรุงหลักสูตรหรือสรางหลักสูตรใหม เพื่อใหบรรลุเปาหมายทางการจัดการศึกษาที่ตองการใหผูเรียน
เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้ โดยยึดผลประโยชน์ที่จะเกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.6 หลักการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรจําเปนตองมีหลักการ เพื่อใหเกิดแนวทางหรือความ ชัดเจนในการที่จะพัฒนาเชน กอ สวัสดิพาณิชย (อางถึงใน สวัสดิ์ กาญจนสุวรรณ, 2542 : 378-379) ไดเสนอหลักการพัฒนาหลักสูตรไว 6 ประการ คือ
1. มีการดําเนินงานเปนระเบียบแบบแผนตอเนื่องกันโดยคํานึงถึง จุดเริ่มตนของการพัฒนา จากที่ใดกอน แล้วจะดําเนินการอยางไรในขั้นตอนตอไป
2. การคํานึงถึงวิธีการดําเนินงานตางๆ หลักการและวิธิปฏิบัติ ตลอดจนองคประกอบ
ตางๆ เชน การทดสอบหลักสูตร
3. การพัฒนาหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ จะตองมีการฝกอบรมครูผู้สอน ใหเขาใจหลักสูตรใหม ความรูและแนวคิดใหม
4. การคํานึงถึงประโยชนในดานพัฒนาจิตใจ และทัศนคติของผูเรียน
5. มีความจําเปนที่จะตองไดรับความรวมมือ การประสานงานอยางดี จากเจาหนาที่
ผู้เกี่ยวของกับหลักสูตรทุกฝ่ายและทุกดาน ตลอดจนเวลาในการติดตามผล
6. การมีผูนําที่ชำนาญ และมีความสามารถในการบริหารงานเปนอยางดี
ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรเปนการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงหลักสูตรที่ใชอยู ในสถานศึกษาใหเกิดความเหมาะสมหรือสมบูรณมากยิ่งขึ้นแกผู้เรียน ผูเรียนสามารถพัฒนาตาม ศักยภาพแตละคนโดยจําเปนตองมีหลักการในการพัฒนาหลักสูตรที่จัดทําอยางเปนกระบวนการคือ มีขั้นตอนในการดําเนินงานที่ถูกตองตามวิธีการซึ่งตองอาศัยความรวมมือจาก บุคลากรที่ชํานาญการจากหลายฝายที่เกี่ยวของ ทั้งนี้ตองคํานึงถึงคุณภาพของผู้เรียนเปนสําคัญ
จากการที่นักการศึกษากล่าวมาสรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตรหมายถึง กระบวนการในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่างๆของหลักสูตรจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความต้องการปรับปรุง เพื่อให้ได้หลักสูตรที่เหมาะสม ถูกต้องตามหลักการและสนองความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและประเทศชาติ
2. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
2.1 ความหมายของการพัฒนากระบวนการการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอันเป็นผลมาจากการฝึกและประสบการณ์ แต่มิใช่ผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติ มีผู้ให้ความหมายเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ไว้ ดังนี้
วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์ (2542 : 17) ได้กล่าวว่า การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ หมายถึงการพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ชูศรี สุวรรณโชติ (2544 : 97 - 99) กล่าว่า การพัฒนาการเรียนรู้ หมายถึง การนำปัญหาที่ได้จากการศึกษามาพัฒนาปรับปรุงใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา (2544 : 26 - 28) ได้กล่าวว่า กระบวนการเรียนหมายถึง
การจัดเนื้อหาสาระกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
การฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์
ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้
คิดเป็นทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
การจัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ต่างๆอย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน
รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
5. การจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
อุทุมพร จามรมาน (2544 : 24 - 25) ได้กล่าวถึงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ว่า หมายถึง กระบวนการต่างๆที่ดำเนินการอย่างมีขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การรับรู้ การคิด การประเมิน
การเรียนรู้ การสังเกต การสงสัย การอยากรู้คำตอบ การแสวงหา การคาดคะเน การหาข้อมูลและการตรวจสอบคำตอบ
กรมวิชาการ (2545 : 27) กล่าวว่า การพัฒนากระบวนการเรียนรู้หมายถึง การตรวจสอบและทบทวนขั้นตอนการดำเนินงานในการพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ภารกิจและเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ในการพัฒนารวมถึงความต้องการของสถานศึกษาและชุมชน
ชูศรี วงศ์รัตนะ และคณะ (2545 : 12 - 15) ได้กล่าวว่า การพัฒนากระบวนการเรียนรู้หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ ความเชื่อศรัทธา เจตคติ ค่านิยม ทักษะการงาน ทักษะชีวิตและการครองตนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผู้เรียนตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้เกิดกับผู้เรียนและโดยผู้เรียนเท่านั้น
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545 : 20) ให้ความหมายว่า กระบวน
การเรียนรู้หมายถึง การกำหนดจุดหมายสาระกิจกรรม แหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียน และการวัดผลประเมินผลที่มุ่งพัฒนาคนและชีวิตให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้เต็มความสามารถสอดคล้องกับความถนัด ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
กระทรวงศึกษาธิการ (2546 : 34 - 35) กล่าวว่า การพัฒนากระบวนการเรียนรู้หมายถึง การส่งเสริมให้ครูมีการจัดทำแผนและจัดกระบวนการเรียนรู้ตามสาระหน่วยการเรียนรู้
โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และจัดเนื้อหาสาระกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้ฝึกทักษะกระบวนการคิดการจัดการ การเผชิญสถานการณ์
การประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สอดคล้องกับเนื้อหาสาระกิจกรรม โดยจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้และการสอนตามความเหมาะสม
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ (2548 : 27) ได้เสนอไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ หมายถึง การจัดกิจกรรมและประสบการณ์ที่เอื้อต่อการพัฒนาความคิด ความสามารถ ค่านิยม คุณธรรจริยธรรมของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
จากที่นักการศึกษากล่าวมา สรุปได้ว่า การพัฒนากระบวนการเรียนรู้หมายถึง การจัดกิจกรรมและประสบการณ์ต่างๆ ที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนทุกด้านตามที่จุดประสงค์ของหลักสูตรกำหนด และตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคมและประเทศชาติ
2.2 ลักษณะของกระบวนการเรียนรูที่มีคุณภาพ
พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขปรับปรุง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 ไดกําหนดแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรูที่มีคุณภาพไวในมาตรา 24 โดย ใหสถานศึกษาและหนวยงานที่เกี่ยวของ ดําเนินการดังนี้
1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมใหสอดคลองกับความสนใจและความถนัดของผูเรียนโดยคํานึงถึงความแตกตางระหวางบุคคล
2. ฝกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ และการประยุกต์
ความรู มาใชเพื่อปองกันและแกไขปญหา ทักษะที่ตองฝก ไดแก
1. กระบวนการคิด
2. การจัดการ
3. การเผชิญสถานการณ
4. การประยุกตความรู
3. จัดกิจกรรมใหผู้เรียนไดเรียนรู้จากประสบการณจริง ฝกการปฏิบัติใหทําได
คิดเปน ทําเปน รักการอาน และเกิดการใฝรู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง
4. จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรูดานตางๆ อยางไดสัดสวนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝงคุณธรรม คานิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงคไวในทุกวิชา
5. สงเสริมสนับสนุนใหผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดลอม สื่อการเรียนและอํานวยความสะดวก เพื่อใหผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู รวมทั้ง สามารถใชการวิจัย
เปนสวนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู ทั้งนี้ ครูผู้สอนและผูเรียนอาจเรียนไปพร้อมกันจากสื่อ การเรียนการสอนและแหลงวิทยาการประเภทตาง ๆ (ดํารง บุญชู, 2546 : 19-20)
การวัดผลและประเมินผล
3.1 ความหมายของการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลมีความสำคัญต่อการจัดการศึกษามาก เพราะทำให้
ทราบถึงผลของการจัดการเรียนการสอนว่า บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่เพียงใด เพื่อปรับปรุงหรือ พัฒนาให้ยิ่งๆขึ้นไป นักการศึกษาได้ให้ความหมายของการวัดผลและประเมินผลไว้ ดังนี้
สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร (2543 : 3) ได้ให้ความหมายของการวัดผลและประเมินผลไว้ว่า หมายถึงกระบวนการที่ใช้ในการติดตาม ตรวจสอบผลการจัดการเรียนการสอนว่า บรรลุตามเป้าหมายเพียงใด โดยการวัดผลนี้เกิดจากการยอมรับความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติของผู้เรียนที่เชื่อว่า ผู้เรียนมีความแตกต่างกันในเรื่องการเรียนรู้นั่นคือ มนุษย์มีความแตกต่างกันระหว่างบุคคลแยกเป็น 2 ลักษณะ คือ
เชื่อว่าคนเรียนรู้ได้ไม่เท่ากัน
เชื่อว่าคนเรียนรู้ได้เท่ากัน แต่ใช้เวลาไม่เท่ากัน
ธำรง บัวศรี (2542 : 257) กล่าวถึง ความหมายของการวัดผลและการประเมินผลว่า หมายถึง การวัดคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นการวัดในด้านปริมาณหรือคุณภาพก็ได้ การวัดในด้านปริมาณได้แก่ การวัดความยาว ความกว้าง ความสูง น้ำหนัก ปริมาตร ความถี่ ความเร็ว ฯลฯ ส่วนในด้านคุณภาพ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับเชาวน์ปัญญา พฤติกรรม เจตคติ ส่วนการประเมินผล หมายถึง กระบวนการในการรวบรวมข้อมูลต่างๆที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการประเมินค่าและตัดสินใจ
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2543 : 165 - 166) ได้ให้ความหมายของการวัดผลและประเมินผล ดังนี้ การวัดผล (Measurement) หมายถึง กระบวนการที่กำหนดจำนวนตัวเลขให้กับวัตถุสิ่งของหรือบุคคลตามความมุ่งหมาย และเปรียบเทียบลักษณะความแตกต่างที่ปรากฏอยู่ในสิ่งที่จะวัดนั้นๆ การประเมินผล (evaluation) เป็นการพิจารณาตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพความจริงและการกระทำ
กระทรวงศึกษาธิการ (2545 : 24-25) กลาววา การวัดและประเมินผลการเรียนรู เปน
กระบวนการที่ใหผู้สอนใชพัฒนาคุณภาพผูเรียน เพราะจะชวยใหไดขอมูลสารสนเทศที่แสดง พัฒนาการ ความกาวหนา และความสําเร็จทางการเรียนของผู้เรียน รวมทั้งขอมูลที่จะเปนประโยชน
ตอการสงเสริมใหผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อยางเต็มตามศักยภาพ
ทิศนา แขมมณี (2545 : 40 - 45) ได้กล่าวถึงการวัดผลและประเมินผลไว้ ดังนี้
“ การวัดผล ” เป็นกระบวนการในการดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อมูลว่า สิ่งหนึ่งๆ มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะเป็นไปตามความต้องการหรือไม่ ซึ่งออกมาเป็นสิ่งที่สังเกตได้ วัดได้โดยเป็นตัวเลขหรือสัญลักษณ์แทนที่จำนวนหรือปริมาณของคุณลักษณะนั้นๆ สำหรับ “ สำหรับการประเมินผล ”
ได้กล่าวไว้ 2 ลักษณะ คือ
1) การประเมินผล(Evaluation) หมายถึง การรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการวัดผลไว้นำมาวินิจฉัยตัดสินคุณค่าด้วยเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งและ
2) การประเมินผล (Assessment) หมายถึงกระบวนการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับความสามารถของผู้เรียนด้านต่างๆ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณลักษณะ แล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ และย้อนกลับให้แก่ผู้เรียนหรือครูเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับผู้เรียนหรือประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนรู้
ศิริชัย กาญจนวาสี (2545 : 283) ได้ให้ความหมายของการวัดและการประเมินผลว่า การวัดผล (Measurement) หมายถึง กระบวนการกำหนดตัวเลขให้แก่สิ่งต่างๆตามเกณฑ์โดยการวัดผลจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1) จุดมุ่งหมายของการวัด 2) เครื่องมือที่ใช้วัด 3) การแปรผลและการนำไปใช้ ส่วนการประเมินผล (Evaluation) หมายถึง กระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งต่างๆตามเกณฑ์หรือมาตรฐาน โดยทั่วไปการประเมินต้องอาศัยข้อมูลจากการวัดที่เป็นปรนัย แต่บางครั้งก็อาศัยการสังเคราะห์จากการวัดผลที่เป็นอัตนัย และบางครั้งก็อาศัยการสังเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อตัดสินคุณค่าของสิ่งนั้น
นภา หลิมรัตน (2546 : 13) กลาววา “ควรเขาใจเกี่ยวกับคํา(Term) ในเรื่องการ วัดผลการประเมินผล 2 คําดังนี้คือ การวัดผลหรือการวัด หรือ Measurement หรือ Assessment มีความหมายวา การจัดหาขอมูล หรือจัดหาคะแนนจากหลากหลายวิธี ส่วนการประเมินผล คือ การนําผลที่วัดไดมาตัดสินวามีคุณคาอยางไร
จากที่นักการศึกษากล่าวมาสรุปได้ว่า การวัดและการประเมินผล หมายถึง กระบวนการในการตรวจสอบคุณภาพของผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ว่า เป็นไปตามความต้องการหรือไม่ ควรปรับปรุงหรือพัฒนาส่วนใด การวัดเป็นกระบวนการตรวจสอบปริมาณที่กำหนดเป็นจำนวนหรือตัวเลข สำหรับการประเมินผล เป็นกระบวนการที่นำผลการวัด
มาจัดลำดับคุณภาพ โดยการเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วตัดสินผลว่าต่ำหรือ
สูงกว่าเกณฑ์
3.2 หลักการประเมิน
ธนาธิป พรกุล (2543 : 92-93) ไดใหหลักการการประเมินผลการเรียนรู้วา เพื่อใชเปน
พื้นฐานสําหรับ การประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ 6 ประการ ไดแก
1. การประเมินผลตองการความคิดที่ชัดเจน และมีการสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพ ผูที่คิดชัดเจนจะรูวากําลังประเมินอะไร และสามารถนําผลการประเมินสื่อความหมาย ใหผู้อื่นเขาใจ การเสนอผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ไมจําเปนตองอยูในรูปตัวเลขเทานั้น ครูผู้สอน สามารถใชคํา ภาพประกอบ รูปภาพ ตัวอยาง เพื่อแสดงความหมายของผลสัมฤทธิ์ของผูเรียนได
2. การประเมินผลในชั้นเรียนเปนเรื่องสําคัญ การประเมินระหวางการสอนทุกวัน
อยางตอเนื่อง มีอิทธิพลตอการเสริมสรางการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนอาจใชการประเมินโดย
ถามคําถาม ตีความหมาย คําตอบ สังเกตการปฏิบัติ ตรวจการบาน ใชแบบทดสอบสั้นๆ หรือ
ใชวิธี อื่น ๆ
3. ผูเรียนเปนผู้ใชผลของการประเมิน ครูผู้สอนควรแจง มาตรฐานของพฤติกรรมที่มีคุณภาพที่ครูผูสอนคาดหวังแกผู้เรียนตั้งแตชั่วโมงแรก มีการประเมินผลอยางสม่ำเสมอ และ
แจงผลใหผู้เรียนทราบ ผู้เรียนจะมีแรงจูงใจใชความพยายามเพื่อความสําเร็จ
4. สิ่งที่จะประเมินตองชัดเจน ตองระบุไดวาตองการประเมินอะไร ความรู เนื้อหา
วิธีแกปญหา การเลนเครื่องดนตรี การพูดภาษาตางประเทศหรือการเขียนรายงาน และการ ประเมินเรื่องนั้นมีตัวชี้วัดอะไร
5. การประเมินผลตองมีคุณภาพสูง คุณภาพ ซึ่งหมายถึงสิ่งตอไปนี้
5.1 สิ่งที่ประเมินชัดเจน
5.2 ผลของการประเมินนําไปใชไดประโยชน
5.3 วิธีการเหมาะสม
5.4 การเปนตัวแทน และอางอิงได
5.5 มีความเที่ยงตรงปราศจากอคติและการบิดเบือน
6. การแจงผลการประเมินเปนเรื่องละเอียดออน และควรทําเปนการสวนตัว
สําหรับผูเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำ ครูผู้สอนควรใหความชวยเหลือ
3.3 รูปแบบการประเมินผลการเรียนรู
หรรษา นิลวิเชียร (2547 : 187-188) ไดกลาวถึง รูปแบบการประเมินผลการศึกษาไดแก
การประเมินการปฏิบัติและประเมินตามสภาพจริง เปนทางเลือกใหมของการ ประเมินผลการเรียนรูและเปนคําที่มีความหมายใกลเคียงกันดังนี้
1. การประเมินการปฏิบัติ นํามาใชเมื่อตองการตรวจสอบวา ผู้เรียนมีความสามารถที่จะทํางานใหสาเร็จ หรือแสดงใหเห็นสิ่งที่ไดเรียนไปแลว การปฏิบัติเปนสิ่งที่งายตอการสังเกตและ
การประเมินวา ผูเรียนไดเกิดการเรียนรู้หรือไมเพียงใด สิ่งสําคัญในการประเมินแบบนี้คือ ขอตกลง
ดานระดับมาตรฐานของการปฏิบัติ และการปฏบัติที่เปนจริงนั้น จะตองกระทําในเหตุการที่เป็นจริง
ตัวอยางเชน ถาสอนใหผู้เรียนร้องเพลง ผู้เรียนก็ตองร้องเพลงใหฟง ใน ปจจุบันนี้การประเมินการปฏิบัติจะถูกนํามารวมกับแนวคิดการประเมินตามสภาพจริง คือ การประเมินตามสภาพจริงผูเรียนไมเพียงแตตองแสดงใหเห็นการเรียนรู้เทานั้น แตตองแสดงใหเห็นวา ผูเรียนได้นําความรูไปใชในชีวิตจริง ดังนั้น ความแตกตางระหวางคําสองคํานี้จึงอยูที่สิ่งแวดลอมในการเรียนรู นั่นคือถ้าจะปรับปรุงการประเมินการปฏิบัติ ครูผู้สอนตองจัดใหผู้เรียนแสดงความสามารถในการใชความรูในสิ่งแวดลอมและสถานการณที่เกี่ยวของกับชีวิตจริง
2. การประเมินตามสภาพจริง เปนรูปแบบทางเลือกของการประเมินผลที่กําหนดมาตรฐานการปฏิบัติ โดยจะตองมีการกําหนดเปาหมายและจุดประสงคใหสอดคลองกับสิ่งที่
ครูผู้สอนและผู้เรียนปฏิบัติในหองเรียน วิธีการประเมินไดแก การถามคําถามปลายเปด
การจัดนิทรรศการ การสาธิตการปฏิบัติ การทําแฟมสะสมงาน ครูผู้สอนจะตองประเมินคุณลักษณะที่หลากหลายนอกเหนือจากการประเมิน การจําขอมูลหรือการประเมินทักษะตาง ๆ ครูผู้สอนจะตองสอนแนวลึกมากยิ่งขึ้นเชน เนนสาระสําคัญ การแกปญหา การวิเคราะห และทักษะการคิดใน ระดับสูง
3.4 แนวทางการพัฒนาดานการประเมินผลของโรงเรียนในฝน
กระทรวงศึกษาธิการ (2546 : 74 ) กลาวถึง การประเมินผลการเรียนรูวา การจัดกิจกรรมการเรียนรูที่เนนผู้เรียนเปนสําคัญตองใชวิธีการที่สอดคลองกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และเอื้อตอการเทียบโอนผลการเรียนไดอยางคลองตัว แนวทางการประเมินผลการเรียนควรดําเนินการดังนี้
1. กําหนดเกณฑซึ่งเปนตัวชี้วัดผลการเรียนที่ชัดเจน
2. กําหนดภาระงาน/ผลงาน/โครงการที่ผูเรียนตองปฏิบัติ
3. ใชวิธีการประเมินที่หลากหลาย สังเกตจากผลงานและสภาพการปฏิบัติงาน
ตามจริง (Alternative and Authentic Assessment)
4. ประเมินโดยยึดมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance Standard Assessment)
5. ประเมินจากผลงาน (Projects) และการแสดงความสามารถจากแฟมสะสมงาน
6. ผูเรียนมีสวนร่วมในการกําหนดเกณฑการประเมินที่ทาทายความสามารถ
7. แจงผลการเรียนใหผู้เรียนทราบทันทีเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาใหดีขึ้น
4. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4.1 ความหมายของการวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา
รุ่ง แก้วแดง (2543 : 7) กล่าวว่า การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือกระบวนการที่สร้างองค์ความรู้ใหม่อย่างเป็นระบบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และสิ่งสำคัญคือ จะต้องบูรณาการเรื่องวิจัยเพื่อเป้าหมายปลายทางของการสร้างคุณภาพการศึกษา หรือการให้การศึกษาที่มีคุณภาพแก่ผู้เรียน
กาญจนา วัฒนายุ (2545 : 83) ได้กล่าวว่า การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาหมายถึง การวิจัยในชั้นเรียน เป็นการศึกษาที่มีจุดหมายเพื่อพัฒนาทางเลือกในการแก้ปัญหา หรือพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนโดยครู การพัฒนาทางเลือก ได้แก่การพัฒนานวัตกรรมซึ่งเป็นวิธีสอนหรือสื่อการเรียนรู้ โดยนำวิธีการสอนหรือสื่อการเรียนรู้ไปทดลองใช้แล้ววิเคราะห์ผลและรายงาน
จันทรานี สงวนนาม (2545 : 151) ได้กล่าว่า การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนหมายถึง “ การวิจัยในชั้นเรียน ” ซึ่งเป็นกระบวนการที่น่าเชื่อถือและเป็นระบบในการแสวงหาคำตอบ เพราะเป็นการคิดค้นและพัฒนาที่เป็นการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่เป็นจริงในชั้นเรียน
เป็นกระบวนการเรียนรู้เชิงวิทยาศาสตร์ที่มีเป้าหมายสำคัญในการแสวงหาคำตอบจากปัญหาและ
ข้อสงสัยของครู เป็นการคิดพัฒนานวัตกรรมเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน
บุญเรียง ขจรศิลป์ (2549 : 17) ได้กล่าว่า การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ หรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหา
ด้านวิชาการที่มีอยู่อย่างเป็นระบบและมีวัตถุประสงค์แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
จากการที่นักการศึกษากล่าวมา สรุปได้ว่า การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
หมายถึง กระบวนการวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนและขณะที่ทำการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และนำหลักที่ค้นพบไปพัฒนาการเรียนรู้ต่อไป
5. การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
5.1 ความหมายของการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
วิฑูรย์ สิมะโชคดี (2543 : 45) ได้กล่าวว่า สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีหมายถึง
สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ อาจเป็นความคิด พฤติกรรม หรือสังคมใหม่ๆ หรืออาจเป็นการรับรู้ในของใหม่และแบบอย่างใหม่ๆในวัฒนธรรมหนึ่ง และยังรวมถึงการค้นพบ และการคิดประดิษฐ์ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยๆ ที่เกิดขึ้นก็อาจจัดได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆได้
วิจิตร ศรีสะอ้าน (2548 : 37) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการแนวคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน ตามนัยนี้เทคโนโลยีการศึกษาจึงครอบคลุมเรื่องต่างๆ 3 ด้าน คือ การนำเอาเครื่องมือใหม่ๆมาใช้ในการเรียนการสอน การผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่ รวมถึงการใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ
โสภณ จาเลิศ (2553 : ออนไลน์) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Innovation and Technology) หมายถึง การระดมสรรพความรู้ที่มีเหตุผลมาประยุกต์ให้เป็นระบบใหม่ และสามารถนำมาใช้ปฏิบัติในสถานการณ์ที่เป็นจริงในการแก้ปัญหาให้บรรลุจุดหมายของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
อักษรเจริญทัศน์ (2553 : ออนไลน์) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษาว่า หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียนเช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีการศึกษา (2553 : ออนไลน์) ได้รวบรวมความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) ไว้ 2 ลักษณะ ดังนี้
1. นวัตกรรมทางการศึกษาหมายถึง นวัตกรรมที่ช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจและประหยัดเวลาในการเรียนในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษากันอย่างแพร่หลาย เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI : Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น
2. นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่ง
อาจอยู่ในรูปของความคิดรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะปลี่ยนแปลงระบบการจัดการศึกษาที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยประหยัดเวลาในการเรียน
กู๊ด (Good, 1973, unpage) ได้ให้ความหมายไว้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาคือการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการจัดการเรียน
การสอนโดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่าเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้ อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์
สื่อการสอนต่างๆ ในลักษณะของสื่อประสมและการศึกษาด้วยตนเอง
กาเย และบริกส์ (Gange,& Briggs. 1974, unpage) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นพัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆโดยรวมถึง
ความสนใจในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้ เช่น บทเรียนโปรแกรมและบทเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เป็นต้น
ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎีการเสริมแรง ของ บี. เอฟ
สกินเนอร์ (B. F Skinner)
เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ
รวมถึงสิ่งพิมพ์ด้วย
จากที่นักการศึกษากล่าวมา สรุปได้ว่า การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การนำวิธีการที่แปลกใหม่มาใช้ในการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด วิธีการ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ หรืออาจเป็นของที่มีอยู่เดิมแต่พัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นซึ่งช่วยให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์เร็วขึ้น
6. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้
6.1 ความหมายของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2545 หมวด 4 มาตรา 25 ได้กำหนดไว้ว่า รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นๆอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นโรงเรียนทุกแห่งซึ่งมีหน้าที่ดำเนินงานให้สนองนโยบายของพระราชบัญญัติการศึกษาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และดำเนินการเพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ขึ้นในโรงเรียน (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 : 7) มีนักการศึกษาได้กล่าวถึงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ไว้ ดังนี้
ประเวศ วะสี (2541 : 57) ได้กล่าวถึงแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนคือภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งอรรถาธิบายไว้ว่า “ คือการสั่งสมประสบการณ์หรือความชัดเจนจากชีวิตและสังคมในท้องถิ่นหนึ่งๆ เป็นภูมิปัญญาที่มาจากประสบการณ์จริงจึงมีความเป็นบูรณาการสูง ทั้งในเรื่องของ กายใจ สังคมและสิ่งแวดล้อม มีวัฒนธรรมเป็นฐานมีการเชื่อมโยงไปสู่นามธรรมลึกซึ้งและเน้นความสำคัญของจริยธรรมมากกว่าวัตถุนิยม ”
ชัยยศ อิ่มสุวรรณ (2544 : 22) ให้ความหมายของแหล่งการเรียนรู้ว่า เป็นแหล่งที่บุคคลสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ ตามศักยภาพและโอกาส ตามความสามารถโดยการเรียนรู้ได้อย่างไม่เป็นทางการ แหล่งการเรียนรู้จึงเป็นการเรียนตามอัธยาศัยซึ่งมีอยู่ทั่วไปในสังคม
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2544) ได้ให้คำนิยามของ “ภูมิปัญญา ”
ว่า องค์ความรู้ความสามารถและทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเลือกสรร เรียนรู้มาปรุงแต่งพัฒนาและถ่ายทอดสืบกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย
กระทรวงศึกษาธิการ (2545 : 43 - 45) ให้ความหมายของแหล่งการเรียนรู้และศูนย์การ
เรียนรู้ว่า หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศและประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียนใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
ปัญญา แก้วเกยูร (2545 : 32) กล่าวว่า การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ หมายถึง การปรับปรุงซ่อมแซม แต่งเติมหรือพัฒนาสถานที่ต่างๆที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545 : 1) ให้ความหมายแหล่งการเรียนรู้ว่า เป็นแหล่งหรือที่รวมสาระความรู้ ซึ่งอาจเป็นสถานที่ ศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารหรือบุคคลที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
จากการที่นักการศึกษากล่าวมาสรุปได้ว่า การพัฒนาแหล่งเรียนรู้หมายถึง การสร้างให้มีการซ่อมแซมปรับปรุงพัฒนาสถานที่ต่างๆ ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา
เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสถานที่จริงที่มีความแตกต่างหลากหลาย สามารถศึกษาได้ตามความสนใจ ซึ่งอาจเป็นแหล่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้นก็ได้
7. การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพในสถานศึกษา
7.1 ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษาที่ทุกสถานศึกษาจะต้องดำเนินการ เพื่อสร้างความมั่นใจกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีผู้ให้ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ ดังนี้
ทบวงมหาวิทยาลัย (2542 : 1) ได้ให้ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ว่า หมายถึงกิจกรรมหรือแนวปฏิบัติที่ต้องดำเนินการและหากได้ทำตามระบบที่วางไว้แล้วจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่า ผลผลิตของการศึกษาจะมีคุณภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์
สถาบันพระบรมราชชนก (2542 : 40) ได้ให้ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาว่า หมายถึงกิจกรรมหรือแนวปฏิบัติที่หากได้ดำเนินการตามระบบที่กำหนดจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นใจว่า จะได้ผลผลิตของการศึกษาที่มีคุณภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์และจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อมีการติดตามประเมินผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
วารินทร์ สินสูงสุด (2543 : 137) ได้ให้ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาว่า หมายถึงการทำกิจกรรมหรือการปฏิบัติการอย่างเป็นระบบตามแผนที่กำหนดไว้โดยมีการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Auditing) และมีการประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) จนทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพของปัจจัยนำเข้าระบบกระบวนการผลิต ผลผลิต และผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543 : 7) ได้ให้ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาว่า หมายถึงการบริหารและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา ซึ่งการดำเนินงานตามภารกิจจะต้องมีประสิทธิภาพและทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพและมีลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
อุทุมพร จามรมาน (2543 : 3) ได้ให้ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ว่า หมายถึง การควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบคุณภาพทั้งภายในและภายนอกแล้วตัดสินตามเกณฑ์
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2543 : 7) ได้ให้ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาว่า หมายถึงการบริหารและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา ซึ่งการดำเนินงานตามภารกิจจะต้องมีประสิทธิภาพและทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพและมีลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ และสุชาติ กิจพิทักษ์ (2545 : 7) ได้ให้ความหมายของระบบการประกันคุณภาพภายในไว้ว่า หมายถึงระบบการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือ
โดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
กระทรวงศึกษาธิการ (2546 : 31) กล่าวว่า การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา คือกระบวนการบริหารที่มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยใช้วงจรการบริหาร พี ดี ซี เอ (P D C A) มาช่วยในการบริหาร เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความมั่นใจว่า สถานศึกษาได้จัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 6 มาตรา 48 การศึกษาเริ่มตั้งแต่ขั้นเตรียมการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร การศึกษาเริ่มขึ้นตั้งแต่ขั้นเตรียมการดำเนินการ และรายงานโดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรับการประกันคุณภาพภายนอก
กรมสามัญศึกษา (2548 : 8) ได้ให้ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ว่า คือกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นใจและเป็นหลักประกันต่อผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคมว่า สถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนที่จบการศึกษาจะมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและเป็นที่ยอมรับของสังคม
จากการที่นักการศึกษากล่าวมาสรุปได้ว่า การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน หมายถึง กระบวนการพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อสร้างความมั่นใจและเป็นหลักประกันต่อผู้เรียน ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ว่าสถาบันการศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
8. การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา
8.1 ความหมายของการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา
เดวิด และโทมัส (Davis & Thomas. 1989 : 20 - 24) ได้กล่าวถึงการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษาว่า หมายถึงการวางแผนพัฒนางานวิชาการ การปรับปรุงการปฏิบัติงานด้านวิชาการให้ตรงเป้าหมายและหาวิถีทางให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าของงานวิชาการ การให้แรงจูงใจ สรรหาทรัพยากรที่จำเป็นตลอดจนร่วมมือกับชุมชนสร้างกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนด้านวิชาการ
กัลยา พลีรักษ์ (2539 : 13) ได้ให้ความหมาย ของการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่ชุมชนไว้ว่า หมายถึงวิธีการหรือกระบวนการที่ผู้บริหารโรงเรียนและบุคลากรในโรงเรียนติดต่อสื่อสารสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานด้านการศึกษาของโรงเรียนแก่ผู้ปกครองนักเรียนและประชาชนในชุมชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนและโรงเรียนให้เจริญก้าวหน้าด้านวิชาการไปพร้อมกัน
นิวัฒน์ วงษ์ชอุ่ม (2546 : 14) กล่าว่า การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่ชุมชน หมายถึง การแลกเปลี่ยนข่าวสารทางการศึกษาระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจในความสำคัญของการศึกษา และเกิดความรู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของคนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมดูแลการจัดการศึกษาของโรงเรียน เพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชน โดยมีโรงเรียนเป็นศูนย์ประชาคม ศูนย์การศึกษาและวัฒนธรรม และเป็นตัวนำในการนำความเจริญมาสู่ชุมชน เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับสถาบันอื่นในชุมชน เป็นแนวทางในการประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียนจากชุมชนและเป็นการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
กิติมา ปรีดีดิลก (2547 : 237) ได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง กระบวนการในการวางแผน การควบคุม การประสานงาน การจัดบุคลากรและการเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการสู่ชุมชนเพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนและโรงเรียนให้เจริญก้าวหน้า
จากการที่นักการศึกษากล่าวมาสรุปได้ว่า การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา หมายถึง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข่าวสารทางการศึกษาต่างๆระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เพื่อให้ประชาชนมองเห็นความสำคัญของการศึกษาและได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชนและหน่วยงานอื่น
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยในประเทศ
สุนทร วิไลลักษณ์ (2540 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด กรมสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ครูผู้สอนที่มีวุฒิการศึกษา มีประสบการณ์ในการทำงาน และมีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน และมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
อัมพร ฟุ้งเฟื่อง (2541 : บทคัดย่อ) ไดทำการวิจัยเรื่อง การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองเชียงราย ผลการวิจัยพบวา ในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองเชียงราย ได้มีการกำหนดเป้าหมายและวางแผนไว้อย่างชัดเจน มีความพร้อมในเรื่องของหลักสูตร และการนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนตรงตามหลักสูตร ตลอดจนการส่งเสริมการนำไปใช้ มีห้องสมุดเป็นสัดส่วนและได้รับการสนับสนุนหนังสืออย่างเพียงพอ มีกิจกรรมนิเทศเพื่อช่วยปรับปรุงพัฒนาการสอนของครู รวมทั้งมีการวัดและประเมินผลสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาของหลักสูตร
พิสิทธิ์ จันทรเนตร (2542 : 4) ไดทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สงกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสกลนคร จําแนกตามขนาดโรงเรียน ผลการวิจัยพบวา สภาพการปฏิบัติงานวิชาการในโรงเรียนโดยภาพรวมอยูในระดับ มาก และเมื่อเปรียบเทียบความแตกตางโดยภาพรวม พบวา โรงเรียนขนาดกลางกับโรงเรียนขนาด เล็กมีสภาพการปฏิบัติงานแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปญหาในการ บริหารงานวิชาการ พบวา มีปญหาในการบริหารงานวิชาการนอย สําหรับขอเสนอแนะในการ ปรับปรุงพัฒนาโดยเรียงจากมากไปหานอย 5 อันดับแรกคือ 1) รัฐควรจัดอัตรากําลังครูใหเพียงพอตอจํานวนนักเรียนตามเกณฑ ก.ค. 2) รัฐควรพิจารณาเงินเดือนของขาราชการครูใหมากกวาขาราชการฝายอื่น ๆ เพื่อจูงใจใหคนเกง คนดีมาเปนครู 3 ) งานดานวิชาการควรจะเปนหัวใจสําคัญ ของโรงเรียน
4 ) รัฐควรยกระดับมาตรฐานทางดานวิชาการของทุกโรงเรียนใหเทาเทียมกัน 5 ) งานวิชาการควรเปนองคประกอบในการพิจารณาความดีความชอบ
สกุล กังวานไกล ( 2542 :84) ได้ศึกษาประสิทธิผลการบริหารงาน วิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผล การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวมอยู่ ในระดับปานกลาง ด้านงานพัฒนาครูอาจารย์และด้านงานบริหารทางวิชาการแก่ชุมชน อยู่ใน ระดับปานกลาง ส่วนงานด้านการจัดการเรียนการสอนและงานส่งเสริมวิชาการอยู่ในระดับมาก จากงานวิจัยดังกล่าวอาจสรุปได้ว่าการบริหารงานวิชาการผู้บริหารสถานศึกษา ได้ปฏิบัติและมีปัญหาการปฏิบัติงานวิชาการอยู่ในระดับปานกลาง
พนัส เจริญวงศ (2544 : บทคัดยอ) ไดทําการศึกษาวิจัยเรื่อง ความสัมพันธระหวาง
การบริหารงานวิชาการกับการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สงกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 12 ผลการวิจัยพบวา การบริหารงานวิชาการ และการประกันคุณภาพของ โรงเรียนมัธยมศึกษา สงกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา12 โดยรวมอยูในระดับมาก และระหวาง ความเห็นของขาราชการครูที่มีอายุราชการตางกัน ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดตางกัน และมี สถานภาพตางกัน มีความแตกตางกัน สําหรับความสัมพันธระหวางการบริหารงานวิชาการ กับการ ประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 12 มี ความสัมพันธ
กองวิจัยทางการศึกษา (2545 : 4) ไดทําการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาและการใช้คอมพิวเตอรเพื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา:โรงเรียนนารีนุกูล จังหวัดอุบลราชธานี ผลการวิจัยพบวา ผูเรียนเรียนรู้การใชคอมพิวเตอรในการค้นควาหาความรู สร้างเครือขายการเรียนรู้
ดวยตนเอง และนําความรูมาใชในชีวิตประจําวันได ทําใหเกิดความคิดริเริ่มสรางสรรค์ รักการเรียนรู คิดเปน แกปญหาได คนขอมูลผานอินเทอรเน็ตและประยุกตใชเสริมทักษะตาง ๆได
ธีระ รุญเจริญ (2545 : 118) ไดศึกษาเรื่อง สภาพ และปญหาการบริหารวิชาการและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย พบวา การดําเนินการตามแนวการกระจายอํานาจการบริหารมีปญหา อุปสรรค โดยภาพรวมอยูในระดับปานกลาง โดยเปนปญหาในดานงบประมาณและอาคารสถานที่มากที่สุด และในการสนทนากับผูที่ไมใชผู้อํานวยการสถานศึกษาพบวา ผูบริหารสถานศึกษาใหความสนใจดานวิชาการนอยกวาดานอื่น ๆ กอปรทั้งมีปญหาดาน คุณธรรม จริยธรรมของผูบริหารสถานศึกษามากพอสมควร ซึ่งทําใหผู้ปฏบัติงานวาเหว่ และขาดขวัญกําลังใจ นอกจากนี้ปญหาการใชครูผู้สอนทําหนาที่อื่น นอกเหนือจากการสอนมีคอนขางมากทําใหกระทบกระเทือนตอคุณภาพผูเรียน
ณรงค์ฤทธิ์ ปรีชานุกูล (2545, บทคัดย่อ) ได้ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดลำพูน พบว่า ปัญหาและแนวทางการพัฒนางานด้านวิชาการในโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนมีบทบาทในการนิเทศและมีกิจกรรมเยี่ยมชั้นเรียนน้อย ผู้นิเทศปฏิบัติกิจกรรมไม่สม่ำเสมอ ขาดการวางแผน ขาดการติดตามผลการนิเทศ ขาดการยอมรับระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ ครูมีภาระรับผิดชอบมาก ทำงานหลายด้าน สอนหลายวิชา สื่อการสอนไม่เพียงพอและเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลไม่ได้มาตรฐาน
นวรัตน์ ทิพย์ธนสาร (2547, บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่องการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
ผลการศึกษา พบว่า สภาพการดำเนินงานบริหารงานวิชาการของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับน้อย
นายไพฑูรย์ พึ่งน้อย (2550, บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความคิดเห็นของครูและผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนวัดตลาดโพธิ์ จังหวัดสิงห์บุรี ผลการศึกษาพบว่า
1. ความคิดเห็นของครูและผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียน
วัดตลาดโพธิ์ จังหวัดสิงห์บุรี จำแนกตามสถานภาพ อายุ วุฒิการศึกษาและอาชีพโดยรวมและด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียนและการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง
2. ความคิดเห็นของครูและผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียน วัดตลาดโพธิ์ จังหวัดสิงห์บุรี เมื่อจำแนกตาม อายุ วุฒิการศึกษาและอาชีพ โดยรวมและรายด้าน
ทุกด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
งานวิจัยต่างประเทศ
แมคคาร์ธี (McCarthy. 1976 : 705) ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับบทบาทการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในรัฐนิวเจอร์ซี จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริหาร ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการ หัวหน้าหมวดวิชา และครู ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มครูมีความคิดเห็นไม่สอดคล้องกับผู้บริหาร ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายวิชาการ เกี่ยวกับบทบาทในการปฏิบัติงานวิชาการเรื่องการสังเกตการณ์สอน การวัดผลและประเมินผล การจัดตั้งคณะกรรมการบริหารงานวิชาการ ความรับผิดชอบในการตัดสินใจของคณะกรรมการ นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีความเห็นตรงกันว่า ผู้บริหารโรงเรียนสมควรจะมีบทบาทความรับผิดชอบการบริหารงานวิชาการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
เดชูเทล (Desautel. 1978 : 4-A) ศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้บทบาทในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในรัฐดาโกตาเหนือ สหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีความเห็นว่า ควรใช้เวลาส่วนใหญ่ในการจัดการเรียนการสอน และยังมีความเห็นต่อไปอีกว่า ควรปฏิบัติหน้าที่ให้มากกว่าที่ปฏิบัติอยู่แล้วและถือเป็นบทบาทที่สำคัญที่สุดของผู้บริหารโรงเรียน
แอกที (Agthe. 1980 : 9077-A) ได้วิจัยเกี่ยวกับการรับรู้บทบาทหน้าที่ครูใหญ่และครูในงานวิชาการ พบว่า ครูใหญ่บริหารงานอื่นมากเกินไป ควรให้ความสำคัญในการนิเทศการศึกษามากขึ้น ครูใหญ่และครูยอมรับว่า การปรับปรุงการเรียนการสอนต้องทำร่วมกัน และครูใหญ่จะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้สั่งการมาเป็นผู้ประสานงาน
เบอร์นาร์ด (Bernard. 1984 : 994-A) ได้ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของครูใหญ่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในฐานะผู้นำทางวิชาการ โดยต้องการเปรียบเทียบด้านการรับรู้ข้อมูลและความคาดหวังของผู้บริหารระดับสูงและครูที่มีต่อบทบาทของครูใหญ่ในรัฐแมสซาซูเซทส์ พบว่า 1) ความคาดหวังของครูใหญ่ ผู้บริหารระดับสูงและครู เกี่ยวกับบทบาทของครูใหญ่ในฐานะผู้นำทางวิชาการ ไม่แตกต่างกัน 2) การรับรู้ของครูใหญ่ ผู้บริหารระดับสูงและครูเกี่ยวกับบทบาทของครูใหญ่ในฐานะผู้นำทางวิชาการมีความแตกต่างกัน และ 3) ) การรับรู้และความคาดหวังของครูใหญ่ ผู้บริหารระดับสูงและครูเกี่ยวกับบทบาทของครูใหญ่ในฐานะผู้นำทางวิชาการมีความแตกต่างกัน
คาริสัน (Carison.1992 : 995-A) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ความต้องการของครูในการมีส่วนร่วมตัดสินใจในการบริหารงานวิชาการ ผลการวิจัยพบว่า ครูส่วนใหญ่ต้องการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องเกี่ยวกับหลักสูตร และการสอน โดยการร่วมมือกับบุคลากร ชุมชน นักเรียนและงานวิชาการเป็นงานที่ ครูต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมมากที่สุดเมื่อพวกเขามามีส่วนร่วมมากที่สุดเมื่อพวกเขาเข้าใจชัดเจนมีความชำนาญ ไม่มีความแตกต่างด้านขนาดของโรงเรียนและจำนวนผู้ต้องการเข้ามามีส่วนร่วม สามารถให้ข้อชี้แนะได้ว่า ผู้บริหารต้องพิจารณาถึงเหตุการณ์ที่จำเป็น ความชำนาญของครูและสนับสนุนการตัดสินใจของครู เมื่อครูมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ผู้บริหารควรแนะนำให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดหลักสูตรและการสอนและผลงานจะชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จของครู ผู้บริหารควรจะขอความคิดเห็นจากครูทั้งทางด้านข้อมูล ความคิดและคำแนะนำเพื่อนำเสนอต่อชุมชน ผู้บริหารส่วนใหญ่ควรขอข้อมูลจากครูเพื่อให้เกิดผลต่อนักเรียนและการทำงาน ถ้าผู้บริหารต้องการให้ครูเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้น ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูได้รับการฝึกอบรมอยู่เสมอ ๆ โดยทั่ว ๆ ไปครูต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครูหลายคนแสดงให้เห็นว่าพวกเขาต้องการออกความคิดเห็นแต่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
มานิรากัวห์ (Maniraguha. 1998 : 4186) ได้ทำการวิจัยเรื่องปัจจัยที่ได้รับการคัดสรรซึ่งมีอิทธิพลต่อความสำเร็จทางวิชาการของนักเรียนชั้นปีที่ 1 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรเสี่ยงที่มีระยะนาน 7 วันผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยทางด้านภูมิหลังของครอบครัวได้รับการพิจารณาว่า การศึกษาอาชีพของพ่อแม่และขนาดของครอบครัวไม่พบคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2. คุณลักษณะของโรงเรียน เช่นรูปแบบการปกครอง ขนาดของโรงเรียน ขนาดของชั้นเรียน และสาขาที่ทำการศึกษาพบว่า ไม่มีส่วนมีเกี่ยวข้องกับความสำเร็จทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
3. ในคุณลักษณะของนักเรียน มีเฉพาะพฤติกรรมของนักเรียนและปัจจัยด้านภูมิหลังทางวิชาการ เช่น ผลการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาฝรั่งเศส ในการเรียนประถมศึกษา ศาสนา และการศึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่มาพร้อมกัน คะแนนเฉลี่ยในการเรียนชั้นประถมศึกษาและคะแนนทดสอบแข่งขันเพื่อเข้าศึกษาต่อเท่านั้นที่ปรากฏว่ามีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความสำเร็จทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
จากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จึงพอสรุปได้ว่า มีความสำเร็จทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ปรากฎเด่นชัดขึ้นอยู่กับความสำเร็จทางวิชาการมาก่อนเป็นพื้นฐานสำคัญ
ไอแคนส์ (Aikens. 2002 : 2105-A) ได้ศึกษาเพื่อพัฒนากลยุทธ์ที่สามารถจะลดอุปสรรคและเพิ่มผลการปฏิบัติงานวิชาการ มีพฤติกรรมในทางบวก ความสามารถในการทำแบบทดสอบมาตรฐานได้ดีขึ้น และมีโอกาสเข้าเรียนต่อหลังจากจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา คำถามที่ใช้ถามในการวิจัยคือ ทำให้ผู้ปกครองไม่เข้าเกี่ยวข้องมากขึ้น วิธีการศึกษาคือ ให้การสัมภาษณ์ และการอภิปรายกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ร่วมวิจัย ซึ่งเป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่ชั้นเรียนภาษาอังกฤษบทที่ 1 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งหนึ่งในสหรัฐภาคตะวันออกเฉียงใต้ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความเข้าใจยิ่งขึ้น เกี่ยวกับความต้องการที่จะมีประสบการณ์ทางการศึกษาของบุตรหลานของตนในทุกระดับชั้น อุปสรรคที่พบได้ระบุและแบ่งเป็น 2 ด้านคือ การสื่อสารและการร่วมมือกันปฏิบัติ ทำให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น กุญแจสำคัญที่จะทำให้ผู้ปกครองกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น และมีบทบาทมากขึ้นในการที่จะทำให้นักเรียนเรียนจบ บรรลุเป้าหมายทางการศึกษามากขึ้น และกระหายที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น