บทที่ 1
บทนำ
ภูมิหลัง
ในสังคมโลกปัจจุบัน การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์
ในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม และเพื่อการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อให้สามารถนำประเทศไปสู่การแข่งขันด้านเศรษฐกิจ เข้าใจความแตกต่างทางการเมือง
และวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นพลเมืองโลกยุคโลกาภิวัฒน์ การเรียนภาษาต่างประเทศจะช่วยให้ผู้เรียนมีวิสัยทัศน์ กว้างไกล สามารถสื่อสารกับชาวต่างประเทศได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมั่นใจ
มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาและวัฒนธรรมต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจและภาคภูมิใจ
ในภาษาและวัฒนธรรมไทย และสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ไทยไปสู่สังคมโลก (กรมวิชาการ. 2544 : 1) ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการด้านต่าง ๆ ของโลกยุคโลกาภิวัฒน์
มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย จึงมีความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาของชาติ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศเพื่อสร้างคนไทยให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพพร้อม
ที่จะแข่งขันและร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลก หลักสูตรการศึกษาของประเทศที่ใช้อยู่
โดยกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ติดตามผล และดำเนินการศึกษาเพื่อการพัฒนาหลักสูตรตลอดมา ผลการศึกษาพบว่า หลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนานกว่า 10 ปี มีข้อจำกัดอยู่หลายประการไม่สามารถส่งเสริมให้คนไทยก้าวไปสู่สังคมความรู้ได้ทันการณ์ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2544 : 1)
ในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม และเพื่อการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อให้สามารถนำประเทศไปสู่การแข่งขันด้านเศรษฐกิจ เข้าใจความแตกต่างทางการเมือง
และวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นพลเมืองโลกยุคโลกาภิวัฒน์ การเรียนภาษาต่างประเทศจะช่วยให้ผู้เรียนมีวิสัยทัศน์ กว้างไกล สามารถสื่อสารกับชาวต่างประเทศได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมั่นใจ
มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาและวัฒนธรรมต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจและภาคภูมิใจ
ในภาษาและวัฒนธรรมไทย และสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ไทยไปสู่สังคมโลก (กรมวิชาการ. 2544 : 1) ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการด้านต่าง ๆ ของโลกยุคโลกาภิวัฒน์
มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย จึงมีความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาของชาติ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศเพื่อสร้างคนไทยให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพพร้อม
ที่จะแข่งขันและร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลก หลักสูตรการศึกษาของประเทศที่ใช้อยู่
โดยกรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้ติดตามผล และดำเนินการศึกษาเพื่อการพัฒนาหลักสูตรตลอดมา ผลการศึกษาพบว่า หลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนานกว่า 10 ปี มีข้อจำกัดอยู่หลายประการไม่สามารถส่งเสริมให้คนไทยก้าวไปสู่สังคมความรู้ได้ทันการณ์ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2544 : 1)
ด้วยเหตุผลดังกล่าว กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้พื้นฐานหนึ่งใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีพุทธศักราช 2544 โดยในการจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ
ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคาดหวังว่า เมื่อผู้เรียนเรียนภาษาต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษา ผู้เรียนจะมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศ สื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ แสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพ และศึกษาต่อ
ในระดับสูงขึ้น รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราววัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก และสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์ โครงสร้าง
ของหลักสูตรภาษาต่างประเทศ กำหนดตามระดับความสามารถทางภาษาและพัฒนาการของผู้เรียน (Proficiency-Based) ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1–3) อยู่ในระดับ (Developing Level) ซึ่งชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ โดยการจัดการเรียนการสอนในชั้นนี้ เน้นทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียนเป็นสำคัญ เป้าหมายและความคาดหวังที่สำคัญของการจัดการเรียนรู้ภาษา
ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคาดหวังว่า เมื่อผู้เรียนเรียนภาษาต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษา ผู้เรียนจะมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศ สื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ แสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพ และศึกษาต่อ
ในระดับสูงขึ้น รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราววัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก และสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์ โครงสร้าง
ของหลักสูตรภาษาต่างประเทศ กำหนดตามระดับความสามารถทางภาษาและพัฒนาการของผู้เรียน (Proficiency-Based) ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1–3) อยู่ในระดับ (Developing Level) ซึ่งชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ โดยการจัดการเรียนการสอนในชั้นนี้ เน้นทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียนเป็นสำคัญ เป้าหมายและความคาดหวังที่สำคัญของการจัดการเรียนรู้ภาษา
ต่างประเทศในช่วงชั้นที่ 3 (จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3) ข้อที่ 4 กล่าวว่า อ่าน เขียนข้อความ
ที่เป็นความเรียงและไม่เป็นความเรียง ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่มีตัวเชื่อมข้อความ (Discourse Markers) (กรมวิชาการ. 2544 : 1–3)
การอ่านถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในการแสวงหาความรู้ การอ่านช่วยให้มนุษย์ฉลาดสามารถเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่มีผลต่อ การพัฒนาการของมนุษย์ทั้งทางสติปัญญา อารมณ์ และสังคม การอ่านจึงเป็นทักษะที่จำเป็นต้องฝึกฝนให้นักเรียน นักศึกษาสามารถนำทักษะเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการเสาะแสวงหาความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นการอ่านในภาษาแม่หรือการอ่านภาษาต่างประเทศ (เสงี่ยม โตรัตน์. 2524 : 1) ซึ่งในปัจจุบันโอกาสที่เราจะได้เห็นและอ่านภาษาอังกฤษมีมากขึ้น เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา การรับเอาเทคโนโลยีและวิชาการใหม่ ๆ รวมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภคจากต่างประเทศจึงเข้ามามีบทบาท
เป็นอย่างมากในชีวิตของคนไทย ทักษะการอ่านจึงมีความสำคัญมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อ
ทำสัญญา ค้าขาย หรือแม้แต่การอ่านฉลากสินค้าอุปโภคและบริโภคล้วนแต่ต้องอาศัยความเข้าใจ
ในการอ่านทั้งสิ้น แต่เนื่องจากการอ่านเป็นทักษะที่ซับซ้อน และต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นอย่างดี เพราะการอ่านไม่ใช่แต่เพียงอ่านตัวอักษรเท่านั้น แต่ต้องมีความเข้าใจด้วย ดังนั้นทักษะการอ่าน
จึงจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนจากการเรียนในห้องเรียนจากครูผู้สอนจนชำนาญก่อนแล้วจึงไปฝึกเพิ่มเติมเองนอกห้องเรียน และอีกทักษะหนึ่งจำเป็นอย่างมากในการเรียนภาษาอังกฤษก็คือ ทักษะการเขียน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าทักษะการเขียนถูกจัดไว้ในลำดับสุดท้ายของทักษะทั้ง 4 เหตุที่เป็นเช่นนี้อาจกล่าวได้ว่า เพราะการเขียนจัดเป็นทักษะที่ยากที่สุด ต้องผ่านกระบวนการทางความคิด
หลายขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการรวบรวมความคิด การลำดับเรียบเรียงความคิด การเลือกสารถ้อยคำถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือข้อความที่สามารถสื่อความหมายได้ตรงกับความต้องการ แม้ว่าทักษะการเขียนจะมีความยากในตัวเองดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ก็จำเป็นต้องมีการเรียน การสอนทักษะเขียน เนื่องจากการเขียนเป็นทักษะสำคัญ และเอื้อประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างมากช่วยเสริมให้ผู้เรียนได้อ่าน นอกจากนี้ การเขียนทำให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและสร้างสรรค์
เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ความนึกคิดและจินตนาการ ซึ่งมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้และ
การพัฒนาทางภาษา (สุมิตรา อังวัฒนกุล. 2540 : 149-163)
จากประสบการณ์การสอนภาษาอังกฤษของผู้วิจัยที่โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา
อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด ที่เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปัญหาที่พบมากที่สุดในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ก็คือ ปัญหาด้าน
การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ทั้งนี้ในการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ของโรงเรียนเมืองสรวงวิทยานั้น ซึ่ง การจัดการเรียนการสอนจะเน้นวิธีการสอนแบบไวยากรณ์
และแปล (Grammar Translation Method) โดยวิธีสอนแบบนี้จะเน้นทักษะการอ่านและการเขียน และครูมีบทบาทสำคัญมาก นักเรียนเป็นเพียงผู้รับและปฏิบัติตามครูเท่านั้น ซึ่งไม่สอดคล้อง
กับหลักสูตรการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการเรียนรู้ ส่งผลให้ทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนโรงเรียนเมืองสรวงวิทยายังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านและการเขียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แผนภูมิกราฟิก สาเหตุที่เลือกศึกษาในชั้นนี้ เนื่องจากผู้วิจัย
สอนในระดับนี้ จึงทำให้ทราบปัญหาในการจัดการเรียนการสอนภาษาที่สองเป็นอย่างดี จึงสนใจ
ใช้แผนภูมิกราฟิกเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียน
จากสภาพการณ์ดังกล่าว ผู้วิจัยตระหนักถึงความจำเป็น และความสำคัญของการอ่าน
และการเขียน จึงมีความต้องการที่จะปรับเปลี่ยนและพัฒนาวิธีสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร
และเพิ่มคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นทักษะการอ่านและการเขียนเป็นสำคัญ
ซึ่งสอดคล้องกับ กรมวิชาการในสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศสาระที่ 1
ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.1 และมาตรฐาน ต. 1.3 ที่บ่งชี้ว่า ให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการฟังและการอ่าน สามารถตีความเรื่องที่จะฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และนำความรู้ไปใช้อย่างมีวิจารณญาณ เข้าใจกระบวนการพูด การเขียน และการสื่อสารและมีสุนทรียภาพ(กระทรวงศึกษาธิการ. 2544 : 20) จากเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนโดยใช้แผนภูมิกราฟิก ซึ่งเป็นเทคนิคที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนภาษาที่สองโดยเฉพาะทักษะการอ่านและการเขียน แผนภูมิกราฟิกช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างความคิดรวบยอดในเรื่องว่าอะไรเป็นความคิดที่สำคัญที่สุด และที่สำคัญรองลงมาและความคิดนั้น ๆ มีความสัมพันธ์กันแบบใด เช่น ในแง่ของการเปรียบเทียบแบ่งประเภท หรือเป็นการบรรยาย ยิ่งไปกว่านั้น การใช้แผนภูมิกราฟิกในกิจกรรมก่อนอ่าน ขณะที่อ่าน หรือหลังการอ่านนั้นทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ดีขึ้น การสอนนักเรียนโดยใช้แผนภูมิกราฟิกนี้ สามารถทำให้ผลการเรียนของนักเรียนในรัฐมิสซิสซิปปี้ ซึ่งมีผลการเรียนตกต่ำมากในปี 1986 คือ ด้านการอ่านมีนักเรียนสอบผ่านร้อยละ 77 และการเขียนร้อยละ 53 สามารถมีผลการเรียนดีขึ้นหลังจากได้รับการสอนอ่านและเขียนโดยใช้แผนภูมิกราฟิก โดยมีนักเรียนสอบผ่านด้านการอ่าน
ร้อยละ 95 และด้านการเขียนร้อยละ 93 ในปีการศึกษา 1988 (วิสาข์ จัติวัตร์. 2543 : 145 - 146) และทวีชัย มงคลเคหา (2542 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษา ผลการใช้กลวิธีการทำแผนผังสรุปโยงเรื่อง
ในการสอนทักษะอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่มีผล
ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะการอ่านและพฤติกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการอ่านจับใจความอยู่ในระดับสูง เท่ากับ 75.70 และในด้านการวิเคราะห์เนื้อหาบทเรียนตามลักษณะโครงสร้างของเนื้อเรื่องอยู่ในระดับสูง เท่ากับ 72.96 และมีพฤติกรรมการพัฒนาทักษะการอ่าน
ด้านความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายและการให้ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นในการสร้างแผนผังสรุปโยงเรื่องอยู่ในระดับสูงมาก เท่ากับร้อยละ 90.93 และ 79.50 ตามลำดับ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ แผนภูมิกราฟิก
ความมุ่งหมายของการวิจัย
ความมุ่งหมายของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ
โดยการใช้แผนภูมิกราฟิก ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด
ความสำคัญของการวิจัย
1. นักเรียนโรงเรียนเมืองสรวงวิทยา ได้รับการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนดีขึ้น
2. ครูสอนภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาได้แนวทางในการใช้แผนภูมิกราฟิก
เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียน
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแบบร่วมมือ (Collaborative Classroom Action Research) โดยมีขอบเขตการศึกษา ดังนี้
1. ประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2
2. กลุ่มผู้ร่วมวิจัย
2.1 ผู้วิจัย
2.2 ผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวน 41 คน
2.3 ผู้ให้ข้อมูล เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ปีการศึกษา 2549 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวน 41 คน
2.4 ระยะเวลาที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549
เริ่มดำเนินการระหว่างเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2550
3. เนื้อหา
เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ผังมโนทัศน์ สาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา
ต่างประเทศและผลการเรียนรู้คาดหวังระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เลือกหน่วย (Unit) และเรื่อง (Topic) ที่เหมาะสมกับทักษะอ่านเขียน หลังจากนั้น ผู้วิจัยได้คัดเลือกเนื้อหาจากแหล่งการเรียนรู้
ต่าง ๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับหน่วยการเรียนซึ่งผู้วิจัยได้เลือกหน่วยการเรียนรู้ต่อไปนี้
1. หน่วย (Unit) Places ผู้วิจัยเลือกมา 1 เรื่อง (Topic) คือ
- Tourist Attraction จำนวน 1 แผน 1 ชั่วโมง
2. หน่วย (Unit) Environment ผู้วิจัยเลือกมา 1 เรื่อง (Topic) คือ
- Good Health จำนวน 1 แผน 1 ชั่วโมง
3. หน่วย (Unit) Food and Drink ผู้วิจัยเลือกมา 1 เรื่อง (Topic) คือ
- Food For Health จำนวน 1 แผน 1 ชั่วโมง
4. หน่วย (Unit) Transportation ผู้วิจัยเลือกมา 1 เรื่อง (Topic) คือ
- BTS Sky - train จำนวน 1 แผน 1 ชั่วโมง
5. หน่วย (Unit) Health and Welfare ผู้วิจัยเลือกมา 1 เรื่อง (Topic) คือ
- The Faulty Kettle จำนวน 1 แผน 2 ชั่วโมง
6. หน่วย (Unit) Animal ผู้วิจัยเลือกมา 1 เรื่อง (Topic) คือ
- Deer and Tiger จำนวน 1 แผน 2 ชั่วโมง
7. หน่วย (Unit) Culture ผู้วิจัยเลือกมา 1 เรื่อง (Topic) คือ
- General Information จำนวน 1 แผน 2 ชั่วโมง
4. ระยะเวลาที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เริ่มดำเนินการระหว่างเดือน มกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2550 รวม 10 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 สัปดาห์
นิยามศัพท์เฉพาะ
ผู้วิจัยได้นิยามศัพท์เฉพาะไว้ ดังนี้
1. การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ หมายถึง การใช้แผนภูมิกราฟิก เพื่อให้สามารถแปลความ ตีความ สรุปความ ขยายความ ใช้ภาษาถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
สื่อความหมายให้คนอื่นเข้าใจได้ เรียงลำดับและจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านและเขียนได้ สำหรับทักษะการเขียนเป็นกิจกรรมที่พัฒนาจากทักษะอ่านโดยครูออกแบบกิจกรรมให้ผู้เรียนเขียนแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่อ่าน เขียนแสดงความคล้ายคลึง เขียนขยายความ เขียนเรื่องจากโครงสร้างที่ครูกำหนดให้โดยใช้แผนภูมิกราฟิก
2. การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วม (Collaborative Classroom Action Research) หมายถึง การใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อปรับปรุงและพัฒนาทักษะ
การอ่านและทักษะการเขียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเมืองสรวงวิทยา
อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้ แผนภูมิกราฟิก ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบของ Kemmis and Mc Taggart ประกอบไปด้วย 2 ส่วน
ส่วนแรก คือส่วนสำรวจ ปัญหาก่อนที่จะลงมือปฏิบัติการ ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยได้ทำการสำรวจปัญหา หลังจากนั้นคิดหาวิธีแก้ปัญหา และนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาต่อนักเรียนเพื่อขอความเห็น และทำข้อตกลงร่วมกัน ส่วนที่ 2 คือ ส่วนปฏิบัติการวิจัยและผู้ร่วมวิจัยดำเนินการปฏิบัติการ
โดยออกแบบการปฏิบัติการจำนวน 5 วงจร ในการดำเนินการปฏิบัติในแต่ละวงจร มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
2.1 ขั้นวางแผน (Plan) ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างแผนการเรียนรู้ สื่ออุปกรณ์
การสอนและแบบประเมินตามสภาพจริงเพื่อประเมินทักษะการอ่านและการเขียน
2.2 ขั้นทดลองปฏิบัติ (Action) เป็นขั้นตอนที่ลงมือดำเนินการสอนตามแผน
การเรียนรู้ที่เตรียมไว้
2.3 ขั้นสังเกต (Observation) ขั้นนี้ผู้วิจัยใช้เทคนิคการเก็บรวมรวมข้อมูลทั้งหมด
ที่กำหนดไว้ได้แก่ การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง (Non – formal Observation) โดยผู้วิจัยทำการสังเกต พฤติกรรมการเรียนของนักเรียน สภาพสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนซึ่งจะดำเนินการขณะทำการสอน การเขียนอนุทิน (Journal) ของนักเรียนเป็นการเขียนบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับตัวนักเรียนระหว่างการเรียน ตลอดทั้งการเขียนแสดงความรู้สึกต่อกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้แผนภูมิกราฟิก โดยบันทึกเมื่อเสร็จสิ้นการเรียนในแต่ละครั้ง และการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) เป็นการสุ่มสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้แผนภูมิกราฟิกซึ่งการเก็บรวมรวบข้อมูลในครั้งนี้ผู้วิจัยและนักเรียนจะเป็นทั้งผู้ให้ข้อมูล
ผู้บันทึกข้อมูลและผู้เก็บข้อมูล ในขณะเดียวกัน
2.4 ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflect) ขั้นนี้เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากขั้นสังเกตแบบไม่มีโครงสร้างของผู้วิจัย การเขียนอนุทิน และการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง มาร่วมกันวิเคราะห์ วิจารณ์ เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการศึกษาพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อปรับปรุงคุณภาพของแผนการเรียนรู้
ให้สอดคล้องกับสไตล์การเรียนรู้ของผู้เรียนในวงจรต่อไป
3. แผนภูมิกราฟิก หมายถึง การนำเสนอความคิด ความรู้ และข้อมูลที่เป็นข้อความ หรือรูปภาพ ให้สัมพันธ์กันเป็นรูปแบบมิติสัมพันธ์ที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความชัดเจน กะทัดรัด รัดกุม และเข้าใจง่าย ซึ่งผู้วิจัยได้นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ 9 รูปแบบคือ
3.1 แผนภูมิกราฟิกที่ใช้สำหรับการอ่านผู้ศึกษานำมาใช้ 5 รูปแบบ ได้แก่
3.1.1 แผนภูมิเรียงลำดับขั้นตอน (The Ranking Ladder) หมายถึง แผนภูมิที่ใช้ในการนำเสนอ หรือสรุปข้อมูลเป็นลำดับขั้นตอน จากขั้นต้นถึงขั้นสุดท้าย มองเห็นระดับขั้นของการพัฒนาที่ต่อเนื่องกัน
3.1.2 แผนภูมิความคิด (The Mind Map) หมายถึง แผนภูมิ ที่ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อคิดเห็นได้ชัดเจน ช่วยในการรวบรวมสรุปข้อคิดเห็นที่สัมพันธ์กัน
3.1.3 แผนภูมิแมงมุม (The Spider Diagram) หมายถึง แผนภูมิที่ใช้แสดงถึงใจความสำคัญ ขาของแมงมุมซึ่งเป็นเส้นนอนเป็นข้อความที่มาสนับสนุนใจความสำคัญ ส่วนเส้นทแยงแสดงถึงรายละเอียดปลีกย่อย
3.1.4 แผนภูมิความหมายเรื่องเล่าเรียงตามลำดับเหตุการณ์ (Narrative sequential organization map) แผนภูมิความหมายชนิดแสดงถึงโครงสร้างของเรื่องเล่าซึ่งเกิดขึ้น ตามลำดับเวลา
3.1.5 แผนภูมิความหมายของเรื่องจำแนกประเภท (Classification) แผนภูมิชนิดนี้มักใช้กับเรื่องเชิงความเรียง หรือสิ่งที่ต้องการแบ่งประเภท ชนิด หรือคุณสมบัติของความคิด
รวบยอดนั้น ๆ โดยมีลูกศรชี้ลงล่าง
3.2 แผนภูมิกราฟิกที่ใช้สำหรับการเขียนผู้วิจัยนำมาใช้ 4 รูปแบบ ได้แก่
3.2.1 แผนภูมิความหมายเรื่องเชิงบรรยาย (Descriptive Map) ใช้บรรยาย
ลักษณะต่าง ๆ ของแก่นเรื่องว่ามีรายละเอียด หรือองค์ประกอบอะไรบ้าง อาจบรรยายถึงบุคคลสถานที่ หรือสิ่งของ ซึ่งเกี่ยวข้องกับแก่นเรื่อง หรือหัวข้อสำคัญ
3.2.2 แผนภูมิแสดงเหตุและผล (Cause and Effect) เป็นแผนภูมิที่ใช้กับข้อมูลที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกัน
3.2.3 แผนภูมิเล่าเรื่อง (Story Map) เป็นแผนภูมิที่ใช้ในการบรรยายเรื่อง
เพื่อบอกรายละเอียด
3.2.4 แผนภูมิเปรียบเทียบและสิ่งตรงกันข้าม (Compare Contrast Map)
เป็นแผนภูมิที่ใช้เปรียบเทียบข้อมูลเพื่อให้เห็นความแตกต่างและตรงกันข้าม